[Font : 15 ]
| |
ผู้ไม่เป็นทั้งฝ่ายรับและฝ่ายค้าน (ดับกิเลสและทุกข์เพราะออกเสียได้จากทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ) |  

ภิกษุ ท.! ทิฏฐิ 2 อย่างเหล่านี้ มีอยู่; คือ ภวทิฏฐิ (ว่ามี). วิภวทิฏฐิ (ว่าไม่มี).

ภิกษุ ท.! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิงภวทิฏฐิ (ซึ่งมีลักษณะเป็นบวก) เข้าถึงภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่ภวทิฏฐิ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อวิภวทิฏฐิ. ภิกษุ ท.! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิงวิภวทิฏฐิ (ซึ่งมีลักษณะเป็นลบ) เข้าถึงวิภวทิฏฐิ หยั่งลงสุ่วิภวทิฏฐิ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อภวทิฏฐิ. ...

ภิกษุ ท.! สมณะหรือพรามหณ์เหล่าใด รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษอันต่ำทราม และอุบายเครื่องออกแห่งทิฏฐิสองอย่างนี้, สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ปราศจากตัณหา ไม่มีอุปาทาน เป็นผู้เห็นแจ้ง ไม่เป็นฝ่ายยอมรับไม่เป็นฝ่ายคัดค้าน ; เขาเหล่านั้น เป็นผู้มีธรรมอันไม่ทำความเนินช้าเป็นที่มายินดี มีความยินดีในธรรมอันไม่ทำความเนิ่นช้า ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย, เรากล่าวว่า เขาย่อม พ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้.

- มู ม. 12/131/155.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง