[Font : 15 ]
| |
ง. แบบปฏิบัติสบาย ประสบผลเร็ว |  

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน …. ทุติยฌาน …. ตติยฌาน …. จตุตถฌาน …. แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ 5 ประการเหล่านี้อยู่ คือสัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่อินทรีย์ 5 ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่ อินทรีย์ทั้ง 5 เหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ ได้เร็ว : ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา 4 ประการ.

- จตุกฺก. อํ. 21/202/163.

(บาลีนี้ แบ่งการปฏิบัติออกเป็น 2 จำพวก : พวกหนึ่งปฏิบัติลำบาก ยุ่งยาก อย่างที่เรียกว่าทุลักทุเล น่าหวาดเสียวปฏิกูล ไม่สะดวกสบาย ที่ระบุในสูตรนี้ว่าการตามเห็นความไม่งามในกาย เป็นต้น ; ส่วนอีกจำพวกหนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติที่เยือกเย็น เป็นสุขสบายไปแต่ต้นมือ ที่ระบุในสูตรนี้เรียกว่าเป็นการได้ฌานทั้ง 4 ; ต่างกันอยู่อย่างตรงกันข้าม. คนบางพวกเหมาะสำหรับระบบปฏิบัติลำบาก บางพวกเหมาะสำหรับระบบปฏิบัติสบาย แต่จะประสพผลเร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ทั้ง 5 ของเขา).


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง