[Font : 15 ]
| |
ชีวิต

1. พยัญชนะ : ชีวิตโดยพยัญชนะ : มีชีวี. (สิ่งที่เชื่อถือกันในอินเดียแต่โบราณว่า เป็นอัตตา, ตัวตน, บุรุษ, บุคคล).

2. อรรถะ : ชีวิตโดยอรรถะ :

นัยที่ 1 : ทางวิทยาศาสตร์ : คืดความสดอยู่ของโปรโตปลาสซึม (Protoplasm) ในเซลล์ทุกเซลล์ที่ประกอบกันเป็นร่างกาย.

นัยที่ 2 : ทางภาษาพูดทั่วไป : หมายถึงความที่ยังไม่ตาย หรือระบบการดำเนินชีวิต.

นัยที่ 3 : ทางศาสนา : ฝ่ายฮินดูถือว่าเป็นตัวอัตตา ฝ่ายพุทธถือว่ามิใช่อัตตา เป็นเพียงสิ่งที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ; เป็นผลรวมของร่างกาย และจิตใจอาศัยกันดำรงอยู่.

3. ไวพจน์ : ชีวิตโดยไวพจน์ :

3.1 ไวพจน์ตามภาษาอินเดียโบราณ : อัตตา, เจตภูต, ชีโว, บุรุษ, บุคคล ฯลฯ

3.2 ไวพจน์ภาษาไทย : ที่ถือตามหลักภาษาอินเดียโบราณก็อย่างเดียวกัน.

3.3 ไวพจน์ตามหลักธรรมของชาวพุทธ :

1. ในชั้นทั่วไป : หมายถึงสิ่งที่เกิด ตาย อยู่ตามเหตุตามปัจจัย.

2. ในชั้นสูงสุด : หมายถึงอมตธรรม หรืออสังขตธรรมA13 ซึ่งเป็นชีวิตนิรันดร.

4. องค์ประกอบ : ชีวิตโดยองค์ประกอบ

นัยที่ 1 : ตามหลักธรรมฝ่ายพุทธศาสนา :

1. โดยนิตินัย : ประกอบด้วย นาม (จิต), รูป (กาย) และกฏของนามและรูป (ปฏิจจสมุปบาท).

2. โดยพฤตินัย : ทั้ง 3 อย่างนี้ทำงานพร้อมกัน เป็นสิ่งเดียวกัน.

นัยที่ 2 : ถ้ามีชีวิต, หมายถึงระบบการดำเนินชีวิต ย่อมมีองค์ประกอบโดยสมควรแก่กรณี : เช่น ปัจจัยแห่งชีวิต, สิ่งแวดล้อมแห่งชีวิต, ความรู้ที่ถูกต้อง, การกระทำที่ถูกต้อง ฯลฯ

5. ลักษณะ : ชีวิตโดยลักษณะ : ลักษณะของชีวิตเป็นไปตามปัจจัยที่ปรุงแต่งชีวิตนั้น :

5.1 ฝ่ายวัตถุ : เป็นไปตามระดับหรือชั้นเชิงทางวัตถุ : เช่น ชีวิตเซลล์เดียว, ชีวิตหลายเซลล์, ชีวิตสัตว์, ชีวิตคน.

5.2 ฝ่ายจิตใจ : มีลักษณะตามระดับที่นิยมใช้กันอยู่ในการศึกษา : คือ ระดับกามาวจรภูมิA14, รูปาวจรภูมิA15, อรุปาวจรภูมิA16, โลกตุตตรภูมิA17.

6. อาการ : ชีวิตโดยอาการ : ชีวิตมีอาการเคลื่อนไหว ดิ้นรนไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง :

6.1 ชีวิตในฝ่ายรูปธรรม : มีอาการดิ้นรน เปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวตลอดเวลา.

6.2 ชีวิตในฝ่ายจิตใจ : มีอาการดิ้นรน เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่ยังอยู่ภายใต้อำนาจการปรุงแต่ง; ส่วนชีวิตของจิตใจที่อยู่เหนือการปรุงแต่ง ก็ไม่มีอาการดิ้นรนหวั่นไหว มีแต่อาการสงบเย็น.

7. ประเภท : ชีวิตโดยประเภท :

7.1 แบ่งโดยประเภทสอง :

1. ชีวิตที่มีการเป็นอยู่โดยอาศัยเหตุปัจจัยและรู้จักดับ (สังขตธรรม).

2. ชีวิตที่มีการเป็นอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยและไม่รู้จักดับ (อสังขตธรรมซึ่งมีการเป็นอยู่ยิ่งกว่าชีวิต).

7.2 แบ่งโดยประเภทสาม :

กลุ่มที่ 1 :

1. ชีวิตที่เป็นไปทางกาย.

2. ชีวิตที่เป็นไปทางจิต.

3. ชีวิตที่เป็นไปทางเจตสิก.

ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นสังขตธรรม.

กลุ่มที่ 2 :

1. ชีวิตฝ่ายรูปธรรม.

2. ชีวิตฝ่ายนามธรรม.

3. ชีวิตที่อยู่เหนือความเป็นรูปธรรมและนามธรรม (อสังขตะ).

8. กฏเกณฑ์ : ชีวิตโดยกฏเกณฑ์ :

8.1 ชีวิตเป็นตัวธรรมชาติ และมีกฏธรรมชาติควบคุมอยู่ จึงต้องเป็นไปตามกฏธรรมชาติ.

8.2 รูปกับนาม (กายกับใจ) ต้องทำงานร่วมกันอย่างที่จะแยกกันไม่ได้ ; จึงจะมีสิ่งที่เรียกว่า ชีวิต.

8.3 ชีวิตต้องเป็นการต่อสู้ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตฝ่ายร่างกาย ; ทางฝ่ายจิตใจนั้น สิ้นสุดการต่อสู้ เมื่อลุถึงความอยู่เหนืออำนาจการปรุงแต่ง (คือความเป็นพระอรหันต์).

8.4 ชีวิตเป็นการเดินทางอย่างที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมันเป็นกระแสแห่งวิวัฒนาการ ; ไม่ว่าจะเป็นการเดินด้วยอำนาจของอวิชา หรืออำนาจของวิชชา จนกว่าจะถึงที่สุด.

8.5 ชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา และพัฒนาได้ ตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ อย่างที่จะปฏิเสธหรือบิดพลิ้วว่า "ฉันไม่ได้ต้องการจะเกิดมา" นั้นไม่ได้.

9. สัจจะ : ชีวิตโดยสัจจะ :

9.1 ชีวิตประกอบอยู่ด้วยกายและใจ (รูปและนาม) โดยไม่ต้องมีอัตตา.

9.2 เรื่องทั้งหมดของชีวิต และทุกอย่างที่เกี่ยวกับชีวิต ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่าจิต เพียงสิ่งเดียว.

9.3 ในทุกสิ่งที่เรียกว่าชีวิต มีเมล็ดพืชหรือเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ (สัญชาตญาณที่อาจจะพัฒนาเป็นภาวิตญาณA18 หรือโพธิA19 ) ประจำกันมาแล้วด้วยกันทุกคน.

9.4 ชีวิตดำรงอยู่ได้ด้วยหน้าที่ของชีวิต ปราศจากหน้าที่ก็คือความตาย. ผู้มีปัญญาจึงเคารพหน้าที่เป็นสิ่งสูงสุด.

9.5 ชีวิตเป็นครูผู้สอน, เป็นการศึกษา, เป็นการสอบไล่, เป็นการเลื่อนชั้น หรือไม่เลื่อนชั้นอยู่ในตัวมันเองโดยอัตโนมัติ.

9.6 ชีวิตที่ประกอบด้วยอริยสัจธรรม จึงจะเป็นชีวิตที่ปราศจากทุกข์และนำไปสู่ชีวิตนิรันดร ในที่สุด.

9.7 ชีวิตนี้มีจุดหมายปลายทางเป็นนิพพานโดยแน่นอน ; ส่วนใครจะรู้หรือไม่รู้, เดินหรือไม่เดิน, ถึงหรือไม่ถึงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ; ซึ่งจะต้องรับผิดชอบด้วยตนเอง.

9.8 ในชีวิตหรือร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ก็มีโลก (ทุกข์) ; มีเหตุให้เกิดโลก ; มีความดับแห่งโลก (พระนิพพาน) ; มีทางให้ถึงความดับแห่งโลก (มรรค) ; ที่อาจหาพบได้ดังที่พระองค์ตรัสไว้ ไม่ต้องวิ่งไปหาจนสุดโลก.

9.9 ในชีวิตปกติของคนธรรมดา, มีนิพพานกับวัฏฏสงสารA20 สลับกันอยู่อย่างต่อต้านซึ่งกันและกัน ; นิพพาน (ระยะเวลาที่ว่างจากกิเลส) เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต ; วัฎฎสงสาร (ระยะเวลาที่เดือนพล่านด้วยกิเลส) เป็นเครื่องทรมานบีบคั้น.

10. หน้าที่ : ชีวิตโดยหน้าที่ :

นัยที่ 1 : หน้าที่ของคนต่อสิ่งที่เรียกว่าชีวิต : ต้องดำเนินชีวิตให้ถูกต้องตามกฏของธรรมชาติ เพื่อให้อยู่รอด, ใช้ให้เป็นประโยชน์, สงบเย็น และก้าวหน้าไปตามลำดับ จนกว่าจะถึงขั้นสุดยอด.

นัยที่ 2 : หน้าที่ของตัวชีวิต : คือ การต่อสู้เพื่อมีความเหมาะสมสำหรับอยู่รอดและมีวิวัฒนาการ.

11. อุปมา : ชีวิตโดยอุปมา : เปรียบเสมือน :

11.1 การเดินทางไกล.

11.2 การแล่นเรือข้ามมหาสมุทร.

11.3 การค้าขาย.

11.4 ของยืมเขามา.

11.5 การแสดงละคร.

11.6 กิจกรรมที่ต้องเทียมด้วยควายสองตัว (ปัญญาและกำลัง).

11.7 วัตถุในความฝัน.

ฯลฯ

12. สมุทัย : ชีวิตโดยสมุทัย :

12.1 ชีวิตฝ่ายรูปธรรม : มีการผสมกันของเชื้อฝ่ายบิดาและมารดา อาศัยตัณหาทางสัญชาตญาณเป็นสมุทัย มีธาตุหกเป็นปัจจัย.

12.2 ชีวิตฝ่ายนามธรรม : มีการปรุงแต่งของอวิชชา, ตัณหา, อุปาทาน เป็นสมุทัย มีวิญญาณธาตุเป็นปัจจัย.

12.3 ชีวิตที่อยู่เหนือความเป็นรูปและเป็นนาม : (เป็นอสังขตะนิรันดร) ไม่ต้องมีสมุทัย.

13. อัตถังคมะ : ชีวิตโดยอัตถังคมะ :

13.1 อัตถังคมะของชีวิต : คือ การขาดเหตุปัจจัยตามคราว.

13.2 นิโรธะของชีวิต : คือ การขาดเหตุปัจจัยโดยสิ้นเชิง.

14. อัสสาทะ : ชีวิตโดยอัสสาทะ : อัสสาทะของชีวิตมีอยู่ตามลักษณะแห่งอัสสาทะของภูมินั้นๆ ของชีวิต: มีกามาวจรภูมิ เป็นต้น.

15. อาทีนวะ : ชีวิตโดยอาทีนวะ : มีเฉพาะชีวิตที่ถูกยึดครองด้วยอุปาทาน.

16. นิสสรณะ : ชีวิตโดยนิสสรณะ :

16.1 นิสสรณะของชีวิตที่ติดอยู่ในกองทุกข์ : คือ อริยมรรคมีองค์ 8 หรือดับต้นเหตุของชีวิต คือ อวิชา ตัณหา อุปาทาน.

16.2 ชีวิตนิรันดร : ไม่มีนิสสรณะ เพราะเป็นการออกอยู่แล้วในตัว.

17. ทางปฏิบัติ : ชีวิตโดยทางปฏิบัติ : ทางปฏิบัติต่อชีวิตอย่างถูกต้องตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ (กฏปฏิจจสมุปบาท) : คือ การพัฒนาให้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ที่ชีวิตจะพึงได้รับและเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย.

18. อานิสงส์ : ชีวิตโดยอานิสงส์ :

นัยที่ 1 : อานิสสงส์ของการมีชีวิต (ล้วนๆ) : คือ โอกาสแห่งการพัฒนา.

นัยที่ 2 : อานิสสงส์ของการมีชีวิตที่พัฒนาแล้ว : คือ ความอยู่เหนือปัญหา หรือความปราศจากทุกข์.

19. หนทางถลำ : ชีวิตโดยหนทางถลำ :

19.1 เข้าสู่ชีวิตที่เป็นทุกข์ : คือ เสวนากับอสัตบุรษอยู่เป็นประจำ.

19.2 เข้าสู่ชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์ : คือ เสวนากับสัตบบุรุษA21 อยู่เป็นประจำ.

20. สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : ชีวิตโดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : เพื่อความสมบูรณ์ของชีวิต : คือ อริยญายธรรมA22 หรือ โพธิปักขิยธรรมA23.

21. ภาษาคน - ภาษาธรรม : ชีวิตโดยภาษาคน-ภาษาธรรม :

21.1 ภาษาคน : มุ่งที่ร่างกาย.

ภาษาธรรม : มุ่งที่คุณค่าทางจิต.

21.2 ภาษาคน : สิ่งที่ยังไม่ตาย.

ภาษาธรรม : ความยังไม่สูญสิ้นคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์.

21.3 ภาษาคน : สิ่งที่เรียกกันว่าตัวตน.

ภาษาธรรม : สิ่งที่ไหลเรื่อยจนไม่ควรจะเรียกว่าตัวตน.

ธรรมโฆษณ์ที่แนะนำให้อ่าน

1. เตกิจฉกธรรม

2. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข

3. ธรรมะเล่มน้อย


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง