[Font : 15 ]
| |
หลักอริยสัจ 4 โดยสังเขป (อีกนัยหนึ่ง : ทรงแสดงด้วยปัญจุปาทานขันธ์) |  

ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐมี 4 อยางเหลานี้. 4 อยางเหลาไหนเลา ? สี่อยางคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข, ความจริงอันประเสริฐคือเหตุใหเกิดทุกข, ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไมเหลือของทุกข, และความจริงอันประเสริฐ คือทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือของทุกข.

ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข เปนอยางไรเลา ?คําตอบคือ ขันธอันเปนที่ตั้งแหงความยึดมั่นถือมั่น 5 อยาง. 5 อยางนั้น อะไรเลา ? 5 อยางคือ ขันธอันเปนที่ตั้งแหงความยึดมั่นถือมั่น ไดแก รูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ. ภิกษุ ท.! อันนี้ เรากลาววา ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข.

ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุใหเกิดทุกข เปนอยางไรเลา ? คือตัณหาอันใดนี้ ที่เปนเครื่องนําใหมีการเกิดอีก อันประกอบดวยความกําหนัดเพราะอํานาจความเพลิน มักทําใหเพลิดเพลินยิ่งในอารมณนั้น ๆ ไดแก ตัณหาในกาม, ตัณหาในความมีความเปน, ตัณหาในความไมมีไมเปน. ภิกษุ ท.! อันนี้ เรากลาวา ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุใหเกิดทุกข.

ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไมเหลือของทุกข เปนอยางไรเลา ? คือความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไมเหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปลอยวาง ความไมอาลัยถึงซึ่งตัณหานั่นเอง อันใด. ภิกษุ ท.! อันนี้ เรากลาววา ความจริงอันประเสริฐคือความดับไมเหลือของทุกข.

ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐ คือทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือของทุกข เปนอยางไรเลา ? คือหนทาง อันประเสริฐ ประกอบดวยองค์ 8 นี้นั่นเอง, ไดแกสิ่งเหลานี้คือ ความเห็นชอบ ความดําริชอบ; การพูดจาชอบ การทําการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ภิกษุ ท.! อันนี้ เรากลาววา ความจริงอันประเสริฐ คือทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือของทุกข.

ภิกษุ ท.! เหลานี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ 4 อยาง.

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้นใน กรณีนี้ พวกเธอพึง ทําความเพียรเพื่อใหรูตามเปนจริงวา "นี้เปนทุกข, นี้เปนเหตุใหเกิดขึ้นแหงทุกข, นี้เปนความดับไมเหลือแหงทุกข, นี้เปนทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือแหงทุกข," ดังนี้เถิด.

- มหาวาร. สํ. 19/534-535/1678-1683.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง