[Font : 15 ]
| |
เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า "โยคักเขมี" |  

ภิกษุ ท.! เราจักแสดงธรรมปริยาย ชื่อว่า โยคักเขมีปริยาย แก่เธอ ท.พวกเธอ ท. จงฟัง.

ภิกษุ ท.! ก็ ธรรมปริยาย ชื่อว่าโยคักเขมีปริยาย เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.! รูป ท. ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีรูปน่ารักเป็นที่ตั้งอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่ ; รูป ท. เหล่านั้นอันตถาคตละหมดแล้ว มีมูลรากอันถอนขึ้นได้แล้ว กระทำให้เหมือนต้นตาลไม่มีวัตถุสำหรับงอก กระทำให้ถึงความไม่มีไม่เป็น เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา และตถาคตได้กล่าวบอกโยคกรรมเพื่อละเสียซึ่งรูป ท. เหล่านั้นด้วย เพราะเหตุนั้น ตถาคตจึงได้นามว่า "โยคักเขมี" (ผู้กระทำความเกษมทั้งแก่ตนและผู้อื่น) ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ ท. ก็ทรงแสดงไว้ ด้วยถ้อยคำอันมีหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว)

ภิกษุ ท.! นี้แล ธรรมปริยาย อันชื่อว่าโยคักเขมีปริยาย, ดังนี้แล.

- บาลี สฬา. สํ. 18/305/152. ตรัสแก่ภิกษุ ท.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง