[Font : 15 ]
| |
ปัญญา

1. พยัญชนะ : ปัญญาโดยพยัญชนะ : คือ รู้ทั่วหรือรู้รอบ.

2. อรรถะ : ปัญญาโดยอรรถะ : คือ ความรู้ที่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ควรจะรู้ (แก้ปัญหาได้หรือดับทุกข์ได้) ; ไม่จำเป็นต้องรู้ไปทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเป็นไปไม่ได้.

3. ไวพจน์ : ปัญญาโดยไวพจน์ : คือ ญาณ, วิชชา, ชานนา, วิชานนา, วิปัสสนา, ภูริ ฯลฯ

4. องค์ประกอบ : ปัญญาโดยองค์ประกอบ :

4.1 โดยทั่วไป : สุ.(ฟัง), จิ.(คิด), ปุ.(ถาม), ลิ.(บันทึก).

4.2 โดยพื้นฐาน : การดู, การเห็น, การรู้, การวิจัย (ใคร่ครวญ) ; เป็นองค์ประกอบของปัญญาในชั้นลึก.

4.3 โดยทางธรรม : มีศีลเป็นพื้นฐาน, มีสมาธิเป็นกำลัง, มีการเห็นแจ้งแทงตลอด (วิปัสสนา), เป็นตัวการกระทำอย่างที่ไม่อาจจะแยกกันได้.

5. ลักษณะ : ปัญญาโดยลักษณะ : มีลักษณะ :

5.1 แห่งการรู้, การเห็น, การรู้แจ้งแทงตลอดตามที่เป็นจริง.

5.2 แห่งแสงสว่างที่กำจัดความมืด.

5.3 แห่งความสามารถตัดปัญหาหรือดับทุกข์.

6. อาการ : ปัญญาโดยอาการ : มีอาการ :

6.1 แห่งการรู้ (สิ่งที่ควรรู้).

6.2 แห่งการส่องแสง (กำจัดความมืด).

6.3 แห่งการตัด (ความสงสัย).

6.4 แห่งการชำระล้าง (สิ่งเศร้าหมองหรือกิเลส).

7. ประเภท : ปัญญาโดยประเภท :

7.1 แบ่งโดยระดับ : มี 2 อย่าง :

1. โลกิยปัญญา : เพื่อประโยชน์ในวิสัยโลก.

2. โลกุตตรปัญญา : เพื่อประโยชน์ที่อยู่เหนือวิสัยโลก.

7.2 แบ่งโดยเหตุที่ทำให้เกิดปัญญา : มี 3 อย่าง :

1. โดยสัญชาตญาณ : คือโดยไม่ต้องมีการสั่งสอนอบรม.

2. โดยการพัฒนา (การฝึกฝนอบรม) : แต่ก็ยังอยู่ภายใต้อำนาจของเหตุผลหรือสิ่งแวดล้อม.

3. โดยอริยมรรคญาณ : คือ ความรู้ที่เกิดจากวิปัสสนาภาวนา เป็นความรู้ในขั้นบรรลุมรรคผล ; เหนืออำนาจแห่งการใช้เหตุผล.

8. กฎเกณฑ์ : ปัญญาโดยกฎเกณฑ์ :

8.1 กฎเกณฑ์ที่จะเรียกว่าปัญญา :

1. รู้เองเห็นเอง.

2. ถูกต้องตามที่เป็นจริง.

3. สามารถดับทุกข์ได้.

8.2 กฎเกณฑ์ในการที่จะมีปัญญา :

1. ได้รับคำสอนหรือได้ยินได้ฟังมา.

2. ใคร่ครวญโดยแยบคาย.

3. ทำให้แจ้งในส่วนที่จะดับทุกข์ได้.

8.3 กฎเกณฑ์แห่งการใช้ปัญญา :

1. ต้องใช้คู่กับสติและสมาธิ.

2. ต้องใช้ให้ถูกต้องตามกาลเทศะ บุคคล สถานที่ ฯลฯ

3. ทำให้แจ้งในส่วนที่จะดับทุกข์ได้.

8.3 กฎเกณฑ์แห่งการใช้ปัญญา :

1. ต้องใช้คู่กับสติและสมาธิ.

2. ต้องใช้ให้ถูกต้องตามกาลเทศะ บุคคล สถานที่ ฯลฯ

9. สัจจะ : ปัญญาโดยสัจจะ :

9.1 เป็นเครื่องกระทำความเป็นนักปราชญ์.

9.2 ทุกคนต้องมีเพื่อการพัฒนา.

9.3 เป็นสิ่งที่พัฒนาได้จนกว่าจะถึงขั้นสุดท้าย.

9.4 เป็นเครื่องพัฒนาสัญชาตญาณให้เป็นโพธิยิ่งๆ ขึ้นไป.

10. หน้าที่ : ปัญญาโดยหน้าที่ :

10.1 ปัญญามีหน้าที่ (โดยสมมติ) :

1. ในการนำทาง ชี้ทาง.

2. ในการรู้.

3. ในการส่องแสง.

4. ในการตัด (ความสงสัย - กิเลส - ความยึดมั่น).

5. ในการชำระล้าง.

6. ในการทำบุคคลให้เป็นพุทธะ.

10.2 หน้าที่ของมนุษย์ต่อสิ่งที่เรียกว่าปัญญา : คือ ทำให้เกิด ทำให้เจริญ - ทำให้มาก.

11. อุปมา : ปัญญาโดยอุปมา : เปรียบเสมือน :

11.1 ดวงไฟ.

11.2 ประภาคาร.

11.3 มีดสำหรับตัด.

11.4 เครื่องชำระล้าง.

11.5 ศาสตราวุธ.

11.6 ลูกกุญแจ.

11.7 มัคคุเทศก์.

12. สมุทัย : ปัญญาโดยสมุทัย :

12.1 โดยที่เกิด :

1. จากการฟัง การอ่าน (สุตมยปัญญา).

2. จากการใคร่ครวญ (จินตามยปัญญา).

3. จากการปฏิบัติ (ภาวนามยปัญญา).

12.2 โดยเหตุให้เกิด :

1. ความกลัวต่อความทุกข์และปัญหา.

2. ความอยากจะดับทุกข์และปัญหา.

13. อัตถังคมะ : ปัญญาโดยอัตถังคมะ :

13.1 ความดับไปตามคราวเพราะขาดเหตุปัจจัยตามธรรมดาของสังขารธรรมหรือ สังขตธรรมทั้งหลาย.

13.2 ความพ่ายแพ้แก่อำนาจของอวิชชาในบางกรณี.

13.3 ความประมาทหรือขาดสติ.

14. อัสสาทะ : ปัญญาโดยอัสสาทะ :

14.1 ทางมาแห่งความสำเร็จ.

14.2 ทางมาแห่งความปลอดภัย.

14.3 ทางมาแห่งอิสรภาพเสรีภาพ.

14.4 ทางมาแห่งความบริสุทธิ์.

14.5 ทางมาแห่งความรอด.

14.6 ทางมาแห่งโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์.

15. อาทีนวะ : ปัญญาโดยอาทีนวะ : ไม่มีสำหรับปัญญาบริสุทธิ์ (wisdom) คงมีแต่จากปัญญาชนิดไม่บริสุทธิ์ ; คือ มีความเห็นแก่ตัว เป็นต้นเหตุให้เกิดกิเลสและความหลอกลวง (tricky intellect).

16. นิสสรณะ : ปัญญาโดยนิสสรณะ : ไม่ต้องนิสสรณะจากปัญญา มีแต่ปัญญาเป็นนิสสรณะ ทางออกจากทุกข์.

17. ทางปฏิบัติ : ปัญญาโดยทางปฏิบัติ : ต่อสิ่งที่เรียกว่าปัญญา :

17.1 อบรมปัญญาไว้ให้ครบทุกชนิดแห่งการแก้ปัญหาอยู่เสมอ.

17.2 เลือกใช้ปัญญาให้ตรงกับชนิดแห่งการแก้ปัญหา.

17.3 ใช้ปัญญาให้ทันแก่เวลาและเหตุการณ์.

18. อานิสงส์ : ปัญญาโดยอานิสงส์ :

18.1 ปัญญาทำให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้อย่างถูกต้องและเพียงพอ.

18.2 ปัญญาทำให้เกิดความบริสุทธิ์ทางทิฏฐิ ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความบริสุทธิ์ทางวาจาและทางกาย.

18.3 ปัญญามีลักษณะเป็นแก้วสารพัดนึก ใช้ปรารถนาหรือแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง.

19. หนทางถลำ : ปัญญาโดยหนทางถลำ : เข้าไปสู่ความมีปัญญา :

19.1 การได้เกิดในตระกูลแห่งสัมมาทิฏฐิ.

19.2 การอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดี : เช่น วัฒนธรรม, ประเพณีที่ดีงาม, ครอบครัวดี, ครูดี, เพื่อนดี ฯลฯ

20. สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : ปัญญาโดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : คือ ศีล, สติ, สัมปชัญญะ, สมาธิ ในฐานะเป็นที่ตั้ง, อุปกรณ์, กำลังและอาหารของปัญญา.

21. ภาษาคน - ภาษาธรรม : ปัญญาโดยภาษาคน - ภาษาธรรม :

21.1 ภาษาคน : ความฉลาดสำหรับการได้เปรียบผู้อื่น.

ภาษาธรรม : ความรู้สำหรับจะดับทุกข์.

21.2 ภาษาคน : ความรู้สำหรับหาประโยชน์ทางโลก.

ภาษาธรรม : ความรู้สำหรับหาประโยชน์ทางธรรม.

ธรรมโฆษณ์ที่แนะนำให้อ่าน

1. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข

2. โมกขธรรมประยุกต์

3. วิสาขบูชาเทศนา เล่ม 1


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง