[Font : 15 ]
| |
เวทนา เป็นทางมาแห่งอนุสัย |  

ภิกษุ ท.! อาศัยตากับ รูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรูแจงทางตา) ขึ้น, อาศัยหูกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรูแจงทางหู) ขึ้น, อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรูแจงทางจมูก) ขึ้น, อาศัยลิ้นกับรสเกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรูแจงทางลิ้น) ขึ้น, อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ (ความรูแจงทางกาย) ขึ้น และอาศัยใจกับธรรมารมณ เกิด มโนวิญญาณ (ความรูแจงทางใจ) ขึ้น; ความประจวบกันแหงสิ่งทั้งสาม (เชน ตา รูป จักขุวิญญาณ เปนตน แตละหมวด) นั้นชื่อวา ผัสสะ เพราะผัสสะเปนปจจัยจึงเกิดมีเวทนา อันเปนสุขบาง ทุกขบาง ไมทุกขไมสุขบาง. บุคคลนั้น เมื่อ สุขเวทนา ถูกตองแลว ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่, อนุสัยคือราคะ ย่อมนอนเนืองอยู ในสันดานของบุคคลนั้น. เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกตองแลว ย่อมเศราโศก ย่อมระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห ถึงความหลงใหลอยู่, อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมนอนเนื่องอยู ในสันดานของบุคคลนั้น. เมื่อ เวทนาอันไมทุกขไมสุข ถูกตองแลว ยอมไมรูตามเปนจริง ซึ่งเหตุใหเกิดเวทนานั้นดวย ซึ่งความดับแหงเวทนานั้นดวย ซึ่งอัสสาทะ (รสอรอย) ของเวทนานั้นดวย ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นดวย ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพน) ของเวทนานั้นดวย, อนุสัยคืออวิชชา ย่อมนอนเนื่องอยู ในสันดานของบุคคลนั้น.

ภิกษุ ท.! บุคคลนั้นหนอ ยังละอนุสัยคือราคะในเพราะสุขเวทนาไมได, ยังบรรเทาอนุสัยคือปฏิฆะในเพราะทุกขเวทนาไมได, ยังถอนอนุสัยคืออวิชชาในเพราะอทุกขมสุขเวทนาไมได, ยังละอวิชชาไมได และยังทําวิชชาใหเกิด ขึ้นไมไดแลว จักทําที่สุดแหงทุกข ใหทิฏฐธรรม (ปจจุบัน ) นี้ดังนี้ : ขอนี้ไมใชฐานะที่จักมีไดเลย.

- อุปริ. ม. 14/516/822.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง