[Font : 15 ]
| |
(สังขารชนิดที่ 3 : อุจเฉททิฏฐิ)

(สังขารชนิดที่ 3 : อุจเฉททิฏฐิ)

ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป, ซึ่งเวทนา, ซึ่งสัญญา, ซึ่งสังขาร, ซึ่งวิญญาณ, โดยความเป็นตน ; ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป, ว่ามีเวทนา, ว่ามีสัญญา, ว่ามีสังขาร, ว่ามีวิญญาณ, ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป, ซึ่งเวทนา, ซึ่งสัญญา, ซึ่งสังขาร, ซึ่งวิญญาณ, ในตน ; ไม่สำคัญเห็นซึ่งตน ในรูป, ในเวทนา, ในสัญญา, ในสังขาร, ในวิญญาณ ; ก็จริงแล, ทั้งเป็นผู้ไม่มีทิฏฐิว่า “อัตตา (ตน) ก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้น ครั้นละไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน เที่ยงแท้ มีความไม่แปรปรวนเป็นดรรมดา. ดังนี้ ; ก็จริงแล แต่ทว่า เขายังเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า "เราไม่พึงมีด้วย : ของเราไม่พึงมีด้วย" : เราจักไม่มีด้วย: ของเราจักไม่มีด้วย" ; ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ทิฏฐิดังกล่าวนี้, อันใดแล : ทิฏฐิอันนั้นชื่อว่าอุจเฉททิฏฐิ. อุจเฉททิฏฐินั้นเป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด ? เป็นครื่องก่อให้เกิด ? เป็นเครื่องกำเนิด ? เป็นแดนกิด ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สังขารนั้น เป็นสิ่งที่เกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชน ผู้มิได้สตับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง. เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิด ขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว, แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว, แม้ผัสสะนั้น ก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว, แม้อวิซชานั้นก็ไม่เที่ยงเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

หมายเหตุผู้รวบรวม : สังขารหมวดที่ 3 นี้ มีลักษณะเป็นปฏิจจสมุปบาท โดยนัยะอันเดียวกันกับสังขารหมวดที่ 1 คือสรุปความลงเป็นว่า “สังขารเกิดมาจากตัณหาอันเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ถูกต้องด้วยเวทนาอันเกิดจากอวิชชาสัมผัส”


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ