[Font : 15 ]
| |
ผู้หมดราคี |  

ภิกษุ ท.! เครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.! โลภะอันไม่สม่ำเสมอคืออภิชฌา เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, พายาท เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, ความโกรธ เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, ความผูกโกรธ เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, ความลบหลู่คุณท่าน เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, ความตีตนเสมอท่าน เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, ความริษยา เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, ความตระหนี่ เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, ความมายา เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, ความอดตน เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, ความหัวดื้อเป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, ความบิดพริ้ว เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, ความมานะ เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, ความดูหมิ่นท่าน เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง, ความมัวเมา เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง,ความประมาท เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง.

ภิกษุ ท.! ภิกษุรู้ชัดว่า "โลภะอันไม่สม่ำเสมอคือ อภิชฌา เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้ แล้ว เธอก็ละโลภุอันไม่สม่ำเสมอคืออภิชฌา ที่เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง.

เธอรู้ชัดว่า "พยาบาท เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละพยาบาท ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย

เธอรู้ชัดว่า "ความโกรธ เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความโกรธ ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย

เธอรู้ชัดว่า "ความผูกโกรธ เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความผูกโกรธ ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย

เธอรู้ชัดว่า "ความลบหลู่คุณท่าน เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความลบหลู่คุณ ที่เป็นเครื่องทำจิตใหุ้ณท่านเศร้าหมองเสีย

เธอรู้ชัดว่า "ตีตนเสมอท่าน เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความตีตน ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เสมอท่านเศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า "ความริษยา เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความริษยา ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า "ความตระหนี่ เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความตระหนี่ ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า "ความมายา เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความมายา ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า "ความอวดตน เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความอวดตน ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า "ความหัวดื้อ เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความหัวดื้อ ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า "ความบิดพลิ้ว เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความบิดพลิ้ว ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า "ความมานะ เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความมานะ ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า "ความดูหมิ่นท่าน เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความดูหมิ่นท่าน ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า "ความมัวเมา เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความมัวเมาที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า "ความประมาท เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว ก็ละความประมาท ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

ภิกษุ ท.! ในกาลใด เมือ่ภิกษุรู้ชัดว่า "โลภะอันไม่สม่ำเสมอคือ อภิชฌา เป็นเครื่องทำจิตให้ เศร้าหมอง"ดังนี้แล้ว โลภะอันไม่สม่ำเสมอคือ. อภิชฌา ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง ก็เป็นสิ่งที่เธอละได้แล้ว; อนึ่ง เมื่อเธอรู้ชัด (แต่ละอย่างๆ) ว่า "พยาบาท ความโกรธ, ความผูกโกรธ, ความลบหลู่คุณท่าน, ความตีตนเสมอท่าน, ความริษยา, ความตระหนี่, ความมายา, ความอวดตน, ความหัวดื้อ, ความบิดพลิ้ว, ความมานะ, ความดูหมิ่นท่าน, ความมัวเมา, ความประมาท, (แต่ละอย่างๆ ) เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง" ดังนี้แล้ว พยาบาท ฯลฯ ควาประมาท, ที่เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง ก็เป็นสิ่งที่เะอละได้แล้ว; ในกาลนั้น ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสที่หยั่งลงมั่นไม่ไหว ในพระพุทธเจ้าว่า "เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป้นผู้ไกลจากกิเลส, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และข้อปฏิบัติให้ได้วิชชา, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า, เป็นครูผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย, เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนก ธรรมสั่งสอนสัตว์" ดังนี้.เธอเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสที่หยัง ลงมั่นไม่หวั่นไหว ในพระธรรมว่า "ธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพีงได้เห็นด้วยตนเอง, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้าใส่ตัว, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน" ดังนี้. เธอเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสที่หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในประสงฆ์ว่า "สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่ออกจากทุกข์แล้ว, สงฆืสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว; ซึ่งได้แก่คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 8 บุรุษ. นั่นแหละ คือ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ, เป็นสงห์ควรรับทักษิณาทาน, เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี, เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุที่ ภิกษุนั้นสละกิเลสได้แล้ว, คายเสียแล้ว พ้นไปแล้ว, ละได้แล้ว, สลัดทิ้งเสียแล้ว เธอจึงได้รู้แจ้งอรรถ ได้ความรู้แจ้งธรรม ว่า "เรา เป็นผู้ปรกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสที่หยังลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้ ในพระธรรม, ในพระสงฆ์" ดังนี้; แต่นั้น เธอย่อมได้ความปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม, เมื่อเธอมีความปราโมทย์แล้ว ปีติก็บังเกิดขึ้น, เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กาย ก็สงบระงับ, ภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว ยอ่มได้เสวยความสุข, เมื่อเธอมีความสุข จิต ย่อมตั้งมั่น.

ภิกษุ ท.! ก็เพราะเหตุที่ ภิกษุได้รู้แจ้งอรรถ ได้รู้แจ้งธรรมว่า "กิเลสอันเราสละได้แล้ว, คาย เสียแล้ว, พ้นไปแล้ว, ละได้แล้ว, สลัดทิ้งเสียแล้ว" ดังนี้; เธอย่อมได้ความปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม, เมื่อเธอมีความปราโมทย์แล้ว ปีติก็บังเกิดขึ้น, เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กาย ก็สงบระงับ, ภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว ยอ่มได้เสวยความสุข, เมื่อเธอมีความสุข จิต ย่อมตั้งมั่น.

ภิกษุ ท.! ภิกษุนั้น มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ แม้หากว่าจะบริโภคบิณฑบาติแห่งข้าวสาลี อันขาวสะอาด ปราศจากเม็ดที่มีสีดำ มีแกงและกับมากอย่างไซร้, การบริโคนั้น ก็ไม่เป็นอันตรายแก่เธอ (ไม่ทำเธอให้เศร้าหมอง). ภิกษุ ท.! ผ้าอันเศร้าหมองต้องมลทินแล้วมาถึงน้ำอันใสสะอาด ย่อมเป็นผ้าบริสุทธิ์ขาวสะอาด, หรือ ทองที่มาถึงปากเบ้า ก็เป็นทองบริสุทธิ์ผ่องใส. ข้อนี้ฉันใด. ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ แม้หากว่าจะบริโภคบิณฑบาติ แห่งข้าวสาลีอันขาวสะอาด ปราศจากเม็ดที่มีสีดำ มีแกงและกับมากอย่างไซร้, การบริโคนั้น ก็ไม่เป็นอันตรายแก่เธอ (ไม่ทำเธอให้เศร้าหมอง), ฉั้นนั้น เหมือนกัน.

ภิกษุ ท.! ภิกษุนั้น มีจิตอันประกอบด้วยเมตตา,กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา, แผ่ไปยังทิศที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และทิศเบื้องบน เบื่องต่ำ และด้านขวาง และแผ่ไปยังโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ด้วยจิตที่ประกอบพร้อมด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา, ชนิดที่ไพบูลย์ ถึงความเป็นจิตใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เป็นอยู่. เธอย่อมรู้ชัดว่า "สิ่งนี้มีอยู่, สิ่งที่เลว มีอยู่, ที่สิ่งประณีต มีอยู่, สิ่งที่เป็นอุบายเครื่องออกไปพ้นแห่งสัญญานี้ ที่ยิ่งขึ้นไปยงมีอยู่"018.1 ดังนี้. เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้อยู่ จิตก็ย่อมหลุดพ้นไปจากอาสวะ คือ กาม ภพ และอวิชชา; เมื่อจิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายแล้ว ก็มีญาณ ว่า "หลุดพ้นได้แล้ว" ดังนี้, เธอก็ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติ สิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ ได้อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้, กิจอื่นเพื่อความเป้นอย่างนี้มิได้มีอีก" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า "ผู้อาบแล้ว สนานแล้ว ด้วยเครื่องอาบ เครื่องสนานอันมีในภายใน" ดังนี้แล.

- บาลี พระพุทธภาษิต วัตถูปมสูตร มู. ม. 12/64 - 69/93 - 97, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวัน.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง