[Font : 15 ]
| |
วิปัสสนา

1. พยัญชนะ : วิปัสสนาโดยพยัญชนะ :

1.1 การเห็นแจ้ง.

1.2 การเห็นแจ้งสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง ด้วยปัญญาที่ทำงานร่วมกับสมาธิ.

2. อรรถะ : วิปัสสนาโดยอรรถะ :

2.1 การเห็นแจ้งในแง่ของความไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า : สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น.

2.2 การเห็นแจ้งในแง่ของไตรลักษณ์ คือ : รู้แจ้งความจริงต่างๆ เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.

2.3 การเห็นแจ้งในแง่ของการเกิดทุกข์และการดับทุกข์.

3. ไวพจน์ : วิปัสสนาโดยไวพจน์ : คือ ปัญญา, ญาณ, วิชชา, จักษุ, แสงสว่าง ฯลฯ

4. องค์ประกอบ : วิปัสสนาโดยองค์ประกอบ :

1. จิตที่เป็นสมาธิแล้ว.

2. การเพ่งลักษณะแห่งความจริง.

3. มีสติ สัมปชัญญะ วิริยะ ตลอดเวลา.

5. ลักษณะ : วิปัสสนาโดยลักษณะ : คือ การเพ่งความจริงแห่งธรรม.

6. อาการ : วิปัสสนาโดยอาการ : คือ การเห็นอย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งปวง.

7. ประเภท : วิปัสสนาโดยประเภท :

7.1 วิปัสสนาเพื่อดับทุกข์โดยตรง.

7.2 วิปัสสนาเพื่ออิทธิปาฏิหาริย์A66.

8. กฎเกณฑ์ : วิปัสสนาโดยกฎเกณฑ์ :

8.1 ต้องเป็นการรู้แจ้งด้วยการเห็นแจ้ง ด้วยจิตที่เป็นสมาธิ; มิใช่เป็นเพียงด้วยการฟัง หรือด้วยการคิดทางเหตุผล.

8.2 เป็นการงานในด้านสติปัญญาในระดับสูงสุดของมนุษย์.

8.3 ต้องมีการสอนกันอย่างมีระบบที่ถูกต้อง ครบถ้วน และต่อเนื่อง.

8.4 เป็นการกระทำที่มุ่งหมายเพื่อให้หมดอุปาทาน.

8.5 ไม่ได้ทำเพื่อสุขเวทนา แต่เพื่ออยู่เหนือสุขเวทนา.

8.6 เพื่อกำจัดอวิชชา (ศึกษาผิด) ; และเพื่อส่งเสริมวิชชา (ความรู้ถูก).

9. สัจจะ : วิปัสสนาโดยสัจจะ :

9.1 เกิดแก่จิตที่อบรมจนพร้อมที่จะเห็นแจ้ง.

9.2 เห็นแจ้ง จนถึงกับมีความแน่นอนที่จะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ปล่อยวาง แล้วหลุดพ้น.

9.3 เกิดในเวลา, สถานที่, บุคคล, เหตุการณ์, ที่มีความเหมาะสมที่จะเห็นแจ้ง.

9.4 เกิดขึ้นที่อิริยาบถใดก็ได้ ถ้ามีความเหมาะสม.

10. หน้าที่ : วิปัสสนาโดยหน้าที่ :

10.1 ทำลายความมืดคืออวิชชา, มิจฉาทิฏฐิ, อุปาทาน, กิเลส, ความทุกข์.

10.2 ทำให้จิตเกิดญาณ ความรู้เพื่อความหลุดพ้น.

10.3 รักษาภาวะแห่งความดับทุกข์ สิ้นทุกข์ของชีวิต.

11. อุปมา : วิปัสสนาโดยอุปมา : เปรียบเสมือน :

11.1 แสงสว่างหรือดวงอาทิตย์.

11.2 ความคมของเครื่องตัด.

11.3 แว่นที่ใสกระจ่าง.

11.4 เกลอของสมาธิ.

12. สมุทัย : วิปัสสนาโดยสมุทัย :

12.1 ความต้องการที่จะพ้นจากอำนาจของอวิชชา.

12.2 ความอยากรู้ ความสงสัย ทำให้เกิดความคิดค้น.

12.3 เพราะถูกความทุกข์ขบกัด บีบคั้น เผาลน.

13. อัตถังคมะ : วิปัสสนาโดยอัตถังคมะ :

13.1 วิปัสสนาที่บังเอิญขาดเหตุปัจจัยที่เหมาะสม.

13.2 ทำด้วยอำนาจของตัณหา ก็เกิดๆ ดับๆ ไปตามกระแสแห่งตัณหา.

13.3 เพราะมนุษย์หันไปนิยมระบบวัตถุ.

14. อัสสาทะ : วิปัสสนาโดยอัสสาทะ : คือ ความสุขอันเกิดจากความเห็นแจ้ง.

15. อาทีนวะ : วิปัสสนาโดยอาทีนวะ : ไม่มีอาทีนวะ, ยกเว้นถ้าทำผิดกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อื่น.

16. นิสสรณะ : วิปัสสนาโดยนิสสรณะ : ไม่มี เพราะไม่ต้องหาทางออก.

17. ทางปฏิบัติ : วิปัสสนาโดยทางปฏิบัติ :

17.1 เริ่มกระทำให้เกิดวิปัสสนา โดยการกำหนดลักษณะของสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง.

17.2 เมื่อเกิดวิปัสสนาแล้ว ส่องวิปัสสนาเข้าไปที่ตัวปัญหา.

17.3 สอดส่องไปในความจริงของนามรูป; เรื่องอนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา.

18. อานิสงส์ : วิปัสสนาโดยอานิสงส์ :

18.1 กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน อันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ทั้งปวง.

18.2 ทำลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง.

18.3 ทำลายอวิชชา โมหะ ; เกิดความหลุดพ้น.

18.4 ทำให้หมดความมีตัวตน.

18.5 ช่วยให้ถึงซึ่งตถา (ความคงที่).

18.6 ช่วยคุ้มครองลงไป เพื่อไม่ให้เกิดอวิชชาสัมผัส แม้ในขณะแห่งผัสสะ.

18.7 ช่วยให้เกิดความง่ายและความถูกต้องในการบังคับจิตได้ ไม่ให้เป็นไปในทางที่จะต้องเป็นทุกข์.

18.8 ช่วยพัฒนาจิตใจ ให้สะอาด สว่าง สงบ.

18.9 ควบคุมและปรับปรุงสัญชาตญาณ ไม่ให้กลายตามทางของกิเลส; แต่ให้กลายเป็นโพธิ.

18.10 ป้องกันและแก้ไขโรคประสาทได้อย่างดี.

19. หนทางถลำ : วิปัสสนาโดยหนทางถลำ : เข้าไปสู่สิ่งที่เรียกว่าวิปัสสนา : คือ บังเอิญถลำเข้าไปในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเกิดวิปัสสนา.

20. สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : วิปัสสนาโดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง :

20.1 ปัจจัยและโอกาสที่เหมาะสมแก่การเกิดของวิปัสสนา.

20.2 ความรู้ที่เป็นอุปกรณ์แก่การเจริญวิปัสสนา.

20.3 รากฐานที่ตั้ง ที่อาศัยของวิปัสสนา คือ ศีลและสมาธิ.

21. ภาษาคน - ภาษาธรรม : วิปัสสนาโดยภาษาคน - ภาษาธรรม :

21.1 ภาษาคน : วิปัสสนาหาลาภ.

ภาษาธรรม : วิปัสสนาเพื่อพระนิพพาน.

21.2 ภาษาคน : วิปัสสนาเห็นนรก สวรรค์.

ภาษาธรรม : วิปัสสนาเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.

21.3 ภาษาคน : มีตัวเราทำวิปัสสนา.

ภาษาธรรม : ไม่มีตัวตนผู้ทำวิปัสสนา มีแต่เพียงนามรูปที่กำลังเจริญอยู่ด้วยเจตสิกธรรมประเภทปัญญา.

ธรรมโฆษณ์ที่แนะนำให้อ่าน

1. ธรรมศาสตรา เล่ม 1

2. ธรรมะเล่มน้อย

3. บรมธรรม ภาคปลาย

4. สมถวิปัสสนาแห่งยุคปรมาณู

5. อานาปานสติภาวนา


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง