[Font : 15 ]
| |
พระพุทธองค์ กับ จตุราริยสัจ |  

พระพุทธเปนดุจดั่งผูชี้ทาง พระธรรมซึ่งมีอริยสัจเปนแกนเปนตัวทาง พระอริยสงฆสาวก คือผูที่ไดเดินไปตามทางแลว แตสัตวโลกผูยังถูกอวิชชากดใหจมติดอยูในเปอกตมแหงโอฆะ กําลังตองการทางนั้นอยู, เมื่อใดเขาศึกษาจนรูจักพระพุทธองคอยางลึกซึ้งถึงที่สุด ดุจลูกที่เขาใจบิดาดี เมื่อนั้นเขาจะพบทางนั้นดวย และเดินตามรอยทานผูประเสริฐ ที่เดินไปแลวนั้นได. ถาเขาใจไมตรงพอ เชนเห็นพระพุทธองคเปนพระเปนเจาไป ก็จะมีความมุงหมายและการตั้งหนาทําที่พลาดในที่สุดก็ปราศจากผล เพราะความจริงพระองคเปนแตผูชี้ทาง เทานั้น

พระพุทธองค์ คือผู้ทรงชี้ให้รู้จักทุกข์

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนบุรุษผูหนึ่ง วายลองกระแสแมน้ำลงไปเพราะเหตุสิ่งที่นารักนาเพลินใจ, บุรุษผูมีจักษุยืนอยูบนฝง เห็นบุรุษผุนั้นแลวรองบอกวา "บุรุษผูเจริญ ! ทานยอมวายลองตามกระแสแมน้ำ เพราะเหตุสิ่งที่นารักนาเพลินใจโดยแท แตวา ทางเบื้องลาง มีหวงน้ำ ประกอบดวยคลื่น ประกอบดวยน้ำวน. มียักษมีรากษส ซึ่งเมื่อทานไปถึงแลว จักตองตาย หรือไดรับทุกเจียนตาย." ภิกษุ ท.! บุรุษผูว่ายลองตามกระแสนั้นครั้นไดฟงแลวก็พยายามวายกลับทวนกระแสทั้งดวยมือและดวยเทาทั้งหลาย. ภิกษุ ท.! คําอุปมานี้ เราผูกขึ้น เพื่อใหรูเนื้อความ. นี้เปนเนื้อความ คือ คําวา 'กระแสแมน้ำ' เปนชื่อแหงตัณหา, คําวา 'สิ่งนารักนาเพลินใจ' เปนชื่อแหงอายตนะหกในภายใน, คําวา 'ทางเบื้องลางมีหวงน้ำ' เปนชื่อแหงโอรัมภาคิยสังโยชน 5, คําวา 'คลื่น' เปนชื่อแหงความโกรธและความคับแคน, คําวา 'น้ำวน' เปนชื่อแหงกามคุณ 5, คําวา 'ยักษและรากษส' เปนชื่อแหงมาตุคาม.- คําวา 'ทวนกระแส' เปนชื่อแหงเนกขัมมะ, คําวา 'พยายามดวยมือและเทา' เปนชื่อแหงการปรารถความเพียร, คําวา 'บุรุษผูมีจักษุยืนอยูบนฝง' เปนชื่อแห่งตถาคตผูอรหันตสัมมาสัมพุทธะ; ดังนี้.

- อิติวุ. ขุ. 25/316/289.

พระพุทธองคทรงชี้ทุกขและทางดับทุกขได ก็เพราะพระองคทรงรูจักดี จนถึงกับทําความหลุดพนใหพระองคเองได. ทุกขอันไมรูจักสิ้นสุดของโลกนั้น พระองคหลุดพนไดสิ้นเชิง ทั้งอยางต่ํา อยางกลาง และอยางประณีต. ในทุกขอยางต่ํา ๆ ซึ่งเรามักจมกันอยูโดยสนิทใจ จะไดยกตัวอยางที่พระองคทรงนําไปตรัสใหสติพราหมณผูหนึ่ง มาเปนเครื่องสาธกดังตอไปนี้ :-


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง