[Font : 15 ]
| |
ทรงคิดค้นเรื่องเวทนาโดยละเอียด ก่อนตรัสรู้ |  

ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ความสงสัยได้เกิดขึ้นแก่เราว่า อะไรหนอเป็นเวทนา? อะไรเป็นความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา? อะไรเป็นปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา? อะไรเป็นความดับไม่เหลือแห่งเวทนา? อะไรเป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา? อะไรเป็นรสอร่อยของเวทนา? อะไรเป็นโทษของเวทนา? อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากเวทนา?

ภิกษุ ท.! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เวทนา 3 อย่าง เหล่านี้คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา, เหล่านี้เรียกว่า เวทนา; ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ; ตัณหาเป็นปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา; ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ 8 ประการนี้เอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้องการเลี้ยงชีวิตที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง ; สุขโสมนัสใดๆ ที่อาศัยเวทนาแล้วเกิดขึ้น, สุขและโสมนัสนั้นและเป็นรสอร่อยของเวทนา; เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาด้วยอาการใด, อาการนั้นเป็น โทษของเวทนา; การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนาเสียได้นั้นเป็น อุบายเครื่องออกไปพ้นจากเวทนาได้ ดังนี้.

03.11ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่า ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรม ท. ที่ไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่า "เหล่านี้ คือ เวทนา ท.":..03.12 ว่า"นี้ คือความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา";...ว่า "นี้ คือปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา"; ...ว่า "นี้ คือความดับไม่เหลือแห่งเวทนา": ว่า "นี้ คือปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา" ; ...ว่า "นี้ คือ รสอร่อยของเวทนา"; .ว่า "นี้คือโทษของเวทนา";ว่า "นี้ คืออุบายเครื่องออกไปพ้นจากเวทนา"; ดังนี้.

- บาลี สูตรที่ 4 เวทนาสํยุตต์ สฬา.สํ. 18/289/439.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง