[Font : 15 ]
| |
จิตเป็นสมาธิแล้ว รู้อริยสัจได้แจ่มใส เหมือนเห็นของในน้ำอันใส |  

...ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผุดผอง ไมมีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเปนธรรมชาติออนโยน ความแกการงาน ตั้งอยูได ไมหวั่นไหว เชนนี้แลว, เธอก็นอมจิตไปเฉพาะตอ ญาณเปนเครื่องสิ้นไปแหงอาสวะทั้งหลาย. เธอยอมรูชัดตามเปนจริงวา "นี้เปนทุกข, นี้เปนเหตุใหเกิดทุกข, นี้เปนความดับไมเหลือของทุกข, และนี้เปนทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือของทุกข; เหลานี้เปนอาสวะทั้งหลาย, นี้เปนเหตุใหเกิดอาสวะ, นี้เปนความดับไมเหลือของอาสวะ, และนี้เปนทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือของอาสวะ;" ดังนี้ เมื่อเธอรูอยูอยางนี้เห็นอยูอยางนี้จิตก็พนแลว จาก อาสวะคือกาม อาสวะคือ ภพ อาสวะคืออวิชชา. ครั้นจิตพนแลวก็เกิดญาณหยั่งรูวา "พนแลว" เธอรูชัดวา "ชาติสิ้นแลวพรหมจรรยอยูจบแลวกิจที่ควรทําไดทําสําเร็จแลวกิจอื่นที่จะตองทําเพื่อความหลุดพนอยางนี้ มิไดมีอีก" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนหวงน้ำใส ที่ไหลเขา ไมขุนมัว, คนมีจักษุ (ไมบอด) ยืนอยูบนฝง ณ ที่นั้น : เขาจะเห็นหอยตาง ๆ บาง กรวดและหินบางฝูงปลาบาง อันหยุดอยูและวายไปในหวงน้ำนั้น. เขาจําจะสํานึกใจอยางนี้วา "หวงน้ำนี้ใสไมขุนมัวเลย : หอย กอนกรวด ปลาทั้งหลายเหลานี้ หยุดอยูบาง วายไปบาง ในหวงน้ำนั้น" : อุปมานี้เปนฉันใด; ภิกษุ ท.! อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน, ภิกษุนั้น ยอมรู้ชัดตามเปนจริง วา "นี้เปนทุกข, นี้เปนเหตุใหเกิดทุกข. นี้เปนความดับไมเหลือของทุกข, และนี้เปนทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือของทุกข; เหลานี้เปนอาสวะทั้งหลาย, นี้เปนเหตุใหเกิดอาสวะ, นี้เปนความดับไมเหลือของอาสวะ, และนี้เปนทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือของอาสวะ;" ดังนี้. เมื่อเธอรูอยูอยางนี้ เห็นอยูอยางนี้ จิตก็พนแลว จากอาสวะคือกาม อาสวะคือภพ อาสวะคืออวิชชา. ครั้นจิตพนแลว ก็เกิดญาณหยั่งรู วา "พนแลว" เธอนั้นรูชัดวา "ชาติสิ้นแลว พรหมจรรยอยูจบแลว กิจที่ควรทําไดทําสําเร็จแลว กิจอื่นที่จะตองทําเพื่อความหลุดพนอยางนี้ มิไดมีอีก" ดังนี้.

- มู. ม. 12/509/477.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง