[Font : 15 ]
| |
ข. การแสวงหาที่ประเสริฐ |  

ภิกษุ ท. ! การแสวงหาที่ประเสริฐ (อริยปริเยสนา) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ตนเองมีความเกิดเป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่เกิด (อชาต) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า, ตนเองมีความแก่เป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่แก่ (อชร) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า, ตนเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่เจ็บไข้ (อพฺยาธิ) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า, ตนเองมีความตายเป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่ตาย (อมต) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า, ตนเองมีความโศกเป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดา แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่โศก (อโสก) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า, ตนเองมีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่เศร้าหมองโดยรอบด้าน (อสํกิลิฏฺฐ) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุ ท. ! นี้คือ การแสวงหาที่ประเสริฐ.

- มู. ม. 12/316/315.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง