[Font : 15 ]
| |
บุญ

1.พยัญชนะ : บุญโดยพยัญชนะ : คือ ธรรมชาติเป็นเครื่องชำระสันดานแห่งตน.

2. อรรถะ : บุญโดยอรรถะ :

2.1 โดยเหตุ : เครื่องชำระบาป, เครื่องให้เกิดสุข.

2.2 โดยผล : ความอิ่มใจ, ความสุข.

3. ไวพจน์ : บุญโดยไวพจน์ : คือ กุศล, ความดี, ความงาม ฯลฯ

4. องค์ประกอบ : บุญโดยองค์ประกอบ : คือ สัมมาทิฏฐิ, เจตนาในการกระทำ, ความพยายามในการกระทำ, ความพอใจในผลของการกระทำ.

5. ลักษณะ : บุญโดยลักษณะ : มีลักษณะ :

5.1 ตรงกันข้ามจากบาป.

5.2 เป็นของงาม.

5.3 ชวนให้ปรารถนา.

5.4 เป็นของเบาเหมือนเงาตามตัว

5.5 พร้อมที่จะกำจัดบาป.

5.6 เป็นบันไดแห่งนิพพาน.

6. อาการ : บุญโดยอาการ :

6.1 มีการเกิด - ดับ เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัย ในฐานะที่เป็นสังขตธรรมอย่างหนึ่ง.

6.2 มีอาการปรุงแต่งภพ.

7. ประเภท : บุญโดยประเภท : แบ่งโดยประเภทสอง :

นัยที่ 1 :

1. บุญตามความหมายในภาษาคน : คือ บ้าได้, เมาได้, หลงได้, เป็นอันตรายแก่เจ้าของ.

2. บุญตามความหมายในภาษาธรรม : คือ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความบ้า, ความเมา, ความหลง, ไม่เป็นอันตรายแก่เจ้าของ.

นัยที่ 2 :

1. บุญที่ส่งเสริมความเห็นแก่ตัว.

2. บุญที่ช่วยกำจัดความเห็นแก่ตัว.

นัยที่ 3 :

1. บุญที่เป็นไปอย่างถูกต้อง ตามความหมายของคำว่าบุญ โดยแท้จริง.

2. บุญตามความหมายของคำที่เปลี่ยนแปลงแล้ว จากความหมายเดิม : เช่น การกระทำ ที่เป็นการค้ากำไรเกินควร แล้วก็เรียกมันว่าบุญ.

นัยที่ 4 :

1. บุญที่ถูกยึดถือลูบคลำด้วยอุปาทาน, ตัณหา, มานะ, ทิฏฐิ, จนสูญเสียความหมายของคำว่าบุญที่แท้จริง.

2. บุญที่ไม่ถูกยึดถือลูบคลำด้วยอุปาทาน, ตัณหา, มานะ, ทิฏฐิ, ยังรักษาความหมายที่แท้จริงของคำว่า “บุญ” ไว้ได้.

8. กฎเกณฑ์ : บุญโดยกฎเกณฑ์ :

8.1 บุญโดยเหตุ : ต้องล้างบาป ; บุญโดยผล : ต้องให้เกิดความสุข.

8.2 ต้องมีและเสวยผลโดยไม่ต้องยึดถือว่าของตน มิฉะนั้นมันจะกัดเอา.

8.3 บุญซื้อขายแลกเปลี่ยนหยิบยืมกันไม่ได้.

9. สัจจะ : บุญโดยสัจจะ :

9.1 บุญมีได้ทั้งจากสัมมาทิฏฐิและมิจฉาทิฏฐิ (บางชนิด).

9.2 บุญมีได้ทั้งชนิดที่มีอโลภะเป็นมูล และมีโลภะเป็นมูล.

9.3 บุญมีได้ทั้งชนิดสะอาดและสกปรก (มีโมหะหรือตัณหาเป็นมูลของคนงมงาย).

9.4 บุญมีได้ทั้งโดยคนบ้าบุญ และคนรู้จักบุญ ไม่บ้าบุญ.

10. หน้าที่ : บุญโดยหน้าที่ :

10.1 หน้าที่ (โดยสมมติ) ของบุญ : บุญมีหน้าที่ขจัดบาป.

10.2 หน้าที่ของคนต่อบุญ : บำเพ็ญบุญให้เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ ชำระบาปได้จริง.

11. อุปมา : บุญโดยอุปมา : เปรียบเสมือน :

11.1 บันไดไปนิพพาน.

11.2 ยานพาหนะเดินทางสู่จุดหมายปลายทาง.

11.3 เหล้าหวาน.

11.4 บุญของบางคนเปรียบเหมือนน้ำโคลน : คือ ทำบาปและบุญซึ่งจะทำให้สกปรกยิ่งขึ้นไปอีก เหมือนการอาบน้ำโคลน.

11.5 บุญของบางคนเปรียบเหมือนน้ำสบู่ : คือ ชำระชะล้างสิ่งสกปรก.

11.6 บุญของบางคนเปรียบเหมือนน้ำหอม ; แม้จะได้กลิ่นหอมแต่ก็มิใช่ความสะอาด เหมือนคนทำบุญเอาหน้า.

11.7 บุญของบางคนเปรียบเหมือนน้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่ชำระน้ำโคลน น้ำสบู่ น้ำหอมออกไป จนมีความสะอาดที่แท้จริง. นี้เป็นบุญบริสุทธิ์ชั้นเลิศ.

ฯลฯ

12. สมุทัย : บุญโดยสมุทัย :

12.1 การชักชวนเกลี้ยกล่อมของกัลยาณมิตรA37.

12.2 สัมมาทิฏฐิ.

12.3 ปุญญกามตา หรือ สัมมาสังกัปปะ.

12.4 วัตถุแห่งการทำบุญ :

1. บุญเกิดจากการบริจาค.

2. บุญเกิดจากการสมาทานศีล.

3. บุญเกิดจากการบำเพ็ญจิตตภาวนา.

ทั้ง 3 อย่างนี้อาจขยายออกไปได้เป็น 10 ที่เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ 10A38.

13. อัตถังคมะ : บุญโดยอัตถังคมะ :

13.1 ความดับไปตามคราวเพราะการขาดเหตุปัจจัยตามธรรมดาของสังขารธรรมหรือสังขตธรรมทั้งหลาย.

13.2 การดับไปเพราะบาปเกิดขึ้นแทรกแซงในบางกรณี.

13.3 อัตถังคมะของบุญขั้นสูงสุดเพราะความหมดกิเลส คือเป็นพระอรหันต์.

13.4 ภาษาชาวบ้าน ถือเอาความตายเป็นการสิ้นบุญ.

14. อัสสาทะ : บุญโดยอัสสาทะ :

14.1 สำหรับผู้ยึดมั่นถือมั่นในบุญอย่างงมงาย ก็ได้ความพอใจอุ่นใจเต็มที่ตามแบบคนงมงาย หรือที่เรียกว่าบ้าบุญ.

14.2 คนที่มีบุญอย่างถูกต้องตามความหมายของคำว่าบุญ ก็พอใจหรืออิ่มใจตามปกติ ไม่มีลักษณะแห่งการเมาบุญ.

14.3 การมีชีวิตอย่างคนมีบุญอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดความปลอดภัย, ความสะดวกในการเป็นอยู่ และส่งเสริมความง่ายในการที่จะปฏิบัติธรรมที่สูงขึ้น.

15. อาทีนวะ : บุญโดยอาทีนวะ :

15.1 มีเฉพาะแก่คนที่ยึดมั่นถือมั่นในบุญอย่างงมงาย จนมีผลคล้ายกับบาปไปเสีย มีโทษหาประมาณมิได้.

15.2 บุญตามปกติเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น ทำความเนิ่นช้าให้แก่การบรรลุนิพพาน เพราะหลงใหลไปในทิศทางต่างๆ ตามชนิดของบุญ ; อย่างนี้เรียกชื่อว่า โอปธิกบุญ (บุญเป็นของหนัก). ความหลุดพ้นที่เป็นจุดหมายปลายทางของพรหมจรรย์นั้น คือการพ้นจากอำนาจอิทธิพลของบุญ ที่เรียกว่า “เหนือบุญ”.

16. นิสสรณะ : บุญโดยนิสสรณะ :

16.1 ไม่มีสำหรับบุญที่ไม่ถูกยึดมั่นถือมั่น.

16.2 คงมีสำหรับออกจากอิทธิพลของบุญ ที่ผูกพันด้วยความยึดมั่นถือมั่น : ได้แก่อริยมรรคมีองค์ 8.

17. ทางปฏิบัติ : บุญโดยทางปฏิบัติ :

นัยที่ 1 : เพื่อมีบุญตามปกติ : คือ การทำลายความเห็นแก่ตัว ; ไม่ประทุษร้ายผู้ใดแม้แต่ตัวเอง ; มีแต่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ทั้งส่วนบุคคลและสังคม.

นัยที่ 2 : เพื่ออยู่เหนืออำนาจการปรุงแต่งของบุญ หรือเพื่อเหนือบุญ : คือ การทำลายความยึดมั่นถือมั่นในบุญว่า เป็นตัวตนหรือของตน ; จนบุญไม่มีอำนาจปรุงแต่งภพหรือชาติให้แก่ตนอีกต่อไป.

18. อานิสงส์ : บุญโดยอานิสงส์ :

18.1 อานิสงส์ของบุญที่ไม่แท้จริง : คือ บุญที่ทำด้วยความยึดมั่นถือมั่น ก็มีอานิสงส์อย่างมายา ไปตามแบบของความยึดมั่นถือมั่น.

18.2 อานิสงส์ของบุญที่แท้จริง :

1. อยู่ในโลกนี้อย่างเป็นสุข.

2. เป็นบันไดสู่โลกุตตระ.

19. หนทางถลำ : บุญโดยหนทางถลำ : เข้าไปสู่สิ่งที่เรียกว่าบุญ :

19.1 คบหาสมาคมกับพวกบ้าบุญก็ได้บุญแบบความยึดมั่นถือมั่น.

19.2 คบหาสมาคมกับพวกที่ทำบุญอย่างถูกต้องแท้จริง ก็จะมีบุญอย่างแท้จริง.

19.3 พิจารณาโทษของบาปให้มากๆ จิตก็จะเอียงไปในทางแห่งบุญโดยอัตโนมัติ.

20. สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : บุญโดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : ในการทำให้มีบุญอย่างถูกต้อง กระทั่งการอยู่เหนือบุญ : คือ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะอันเพียงพอ : แล้วดำเนินไปตามหลักการของสัมมาทิฏฐิจนถึงที่สุด. จึงจะมีบุญและใช้บุญได้อย่างถูกต้องหรือปลอดภัย.

21. ภาษาคน - ภาษาธรรม : บุญโดยภาษาคน - ภาษาธรรม :

21.1 ภาษาคน : บุญเป็นเครื่องอิ่มใจ.

ภาษาธรรม : บุญเป็นเครื่องล้างบาป.

21.2 ภาษาคน : บุญเป็นที่ตั้งแห่งการสะสม.

ภาษาธรรม : บุญเป็นที่ตั้งแห่งการเสียสละ.

21.3 ภาษาคน : บุญที่เพิ่มความเห็นแก่ตน.

ภาษาธรรม : บุญที่ลดความเห็นแก่ตน.

ธรรมโฆษณ์ที่แนะนำให้อ่าน

1. ชุมนุมปาฐกถาชุดพุทธธรรม

2. ศารทกาลิกเทศนา เล่ม 1

3. อะไรคืออะไร ?


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง