[Font : 15 ]
| |
ผู้เห็นแต่จะทะเลาะวิวาท |  

ภิกษุ ท.! พอที พวกเธอทั้งหลาย อย่าหมายมั่นกันเลย, อย่าทะเลาะกันเลย, อย่าโต้เถียงกันเลย อย่าวิวาทกันเลย (ดังนี้ถึง 2-3 ครั้ง).

เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว มีภิกษุบางรูปทูลขึ้นว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นธรรมสามี! ขอพระองค์จงหยุดไว้เถิด พระเจ้าข้า!ขอจงทรงขวนขวายน้อยเถิดพระเจ้าข้า! ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า! ขอจงทรงประกอบในสุขวิหารในทิฏฐธรรมอยู่เถิด พระเจ้าข้า! พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย จักทำให้เห็นดำเห็นแดงกัน ด้วยการหมายมั่นกัน ด้วยการทะเลาะวิวาท ด้วยการโต้เถียงกัน ด้วยการวิวาทกัน อันนี้เอง" ดังนี้.

กาลนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองจีวร ถือบาตร เสด็จเข้าไปสู่เมืองโกสัมพี เพื่อบิณฑบาต.ครั้นทรงเที่ยวบิณฑบาตในเมืองโกสัมพีแล้ว ภายหลังภัตตกาล กลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงเก็บบริกขารขึ้นมาถือไว้ แล้วประทับยืนตรัสคาถานี้ว่า :-

"คนไพร่ๆ ด้วย ส่งเสียงเอ็ดตะโค แต่หามีคนไหนสำคัญตัวว่า เป็นพาลไม่. เมื่อหมู่แตกกัน ก็หาได้มีใครรู้สึกเป็นอย่างอื่นให้ดีขึ้นไปกว่านั้นไม่ได้

พวกบัณฑิตลืมตัว สมัครที่จะพูดตามทางที่ตนปรารถนาจะพูดอย่างไร ก็พูดพล่ามไปอย่างนั้น หาได้นำพาถึงกิเลสที่เป็นเหตุแห่งการทะเลาะกันไม่.

พวกใด ยังผูกใจเจ็บอยูว่า "ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลักทรัพย์ของเรา", เวรของพวกนั้น ย่อมระงับไม่ลง.

พวกใด ไม่ผูกใจเจ็บ "ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลักทรัพย์ของเรา"; เวรของพวกนั้นย่อมระงับได้.

ในยุคไหนก็ตาม เวรทั้งหลาย ไม่เคยระงับได้ด้วยการผูกเวรเลย, แต่ระลับได้ด้วยไม่มีการผูกเวร. ธรรมนี้เป็นของเก่า ที่ใช้ได้ตลอดกาล.

คนพวกอื่น ไม่รู้สึกว่า "พวกเราจะแหลกลาญก็เพราะเหตุนี้; พวกใดสำนึกตัวได้ในเหตุที่มีนั้น ความมุ่งร้ายกันย่อมระงับได้ เพราะความรู้สึกนั้น.

ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (ในการทำตามกิเลส) ยังมีได้แม้แก่พวกคนกักชละเหล่านั้น ที่ปล้นเมืองหักแข้งขาชาวบ้าน ฆ่าฟันผู้คน แล้วต้นม้า โค และขนทรัพย์ไป; แล้วทำไมจะมีแก่พวกเธอไม่ได้เล่า?

ถ้าหากไม่ได้สหายที่พาตัวรอด เป็นปราชญ์ ที่มีความเป็นอยู่ดี เป็นเพื่อนร่วมทางแล้วไซร้, ก็จงทำตัวให้เหมือนพระราชา ที่ละแคว้นซึ่งพิชิตได้แล้วไปเสีย แล้วเที่ยวไปคนเดียว ดุจช้างมาตังคะ เที่ยวไปในป่าตัวเดียว ฉะนั้น.

การเที่ยวไปคนเดียวดีกว่า เพราะไม่มีความเป็นสหายกันได้ กับคนพลาล พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่ทำบาป; เป็นคนมักน้อย ดุจช้างมาตังคะ เป็นสัตว์มักน้อย เที่ยวไปในป่า ฉะนั้น."

ดังนี้แล้ว ได้เสด็จไปยัง พาลกโลณการคาม.

- บาลี พระพุทธภาษิต อุปักกิเลสสูตร อุปริ. ม. 14/295/440, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ทิ่มแทงกันด้วยหากคือปาก จนภิกษุรูปหนึ่ง ทูลขอร้างให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไประงับเหตุ ณ ที่โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง