[Font : 15 ]
| |
สัมมาสมาธิ ชนิดที่มีพรหมวิหารเป็นอารมณ์ |  

วาเสฏฐะ ! เมื่อภิกษุนั้นมองเห็นนิวรณ์ทั้ง 5 เหล่านี้ ที่ตนละได้แล้วอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด ; ผู้มีกายสงบรำงับ ย่อมเสวยสุข ; จิตของผู้มีสุข ย่อมเป็นสมาธิ. เธอนั้น ด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยเมตตา ย่อมแผ่ไปสู่ทิศที่ 1 และทิศที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ก็เหมือนอย่างนั้น, เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งหมดทั้งสิ้นในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำและเบื้องขวาง ด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วย เมตตา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท กว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวง ไม่มีขีดจำกัด แล้วแลอยู่. วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินทั้งสี่ทิศโดยไม่ยาก ฉันใด ; ในเมตตาเจโตวิมุตติ21.2 ที่เจริญแล้วอย่าง (ข้างบน) นี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด21.3 ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ใน (เมตตาเจโตวิมุตติอันเป็นกรรมที่ไม่มีขีดจำกัด) นั้น, ก็ฉันนั้น. วาเสฏฐะ ! นี้ เป็นทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมทั้งหลาย.

(ต่อไปนี้ ทรงแสดงข้อ กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา, อีก โดยเนื้อความอย่างเดียวกัน. ทุก ๆ ข้อเป็นหนทางเหมือนกัน โดยพระบาลีว่า แม้นี้ ๆ ก็เป็นหนทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมทั้งหลาย).

- สี. ที. 9/310/383-384


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง