[Font : 15 ]
| |
ตอน 22 ผนวก 2 การตัดสัญโญชน์ ของอริยมรรคทั้ง 4

ตอน ยี่สิบสอง

ผนวก2 - ว่าด้วยการตัดสัญโญชน์ ของอริยมรรคทั้ง 4

ทางที่สะดวกที่สุดสำหรับการศึกษาANP73 นั้น ควรจะกำหนดมาจากการที่อริยมรรคทั้ง 4 ตัดสัญโญชน์และอนุสัยนั้นโดยตรง แล้วพิจารณากันถึงลักษณะแห่งสัญโญชน์และอนุสัยนั้นโดยละเอียดจนเห็นได้ว่า ถ้าสิ่งเหล่านี้ๆ หมดไปแล้วผลอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะทราบคุณสมบัติแห่งวิมุตติสุขญาณเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี ดังต่อไปนี้ คือ :-

1. โสดาปัตติมรรค

โสดาปัตติมรรค ย่อมตัดสัญโญชน์คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส และย่อมตัดอนุสัยคือ ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ถ้านับเรียงอย่างก็ถึง 5 อย่าง หรือกล่าวได้ว่า มีวิมุตติสุขและวิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นได้ถึง 5 อย่าง ข้อนี้เป็นไปได้ในเมื่อตีความของคำว่า สัญโญชน์และอนุสัยให้ต่างกันจนกระทั่งเมื่อละได้แล้ว ย่อมเกิดผลเป็นความสุขต่างกันจริงๆ เช่นสัญโญชน์หรืออนุสัยอันมีนามว่าวิจิกิจฉานั้น ถือว่ามีความหมายต่างกัน กล่าวคือวิจิกิจฉานุสัย หมายถึงวิจิกิจฉาที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน มีผลทำให้สันดานเศร้าหมอง ซึ่งเมื่อละได้แล้ว ทำให้สันดานบริสุทธิ์. ส่วนวิจิกิจฉาที่เป็นสัญโญชน์นั้น หมายถึงวิจิกิจฉาที่ทำหน้าที่ผูกพันสัตว์ไว้ในสังสารวัฏฏ์ คือการเวียนว่ายอยู่ในกองทุกข์ซึ่งเมื่อละได้แล้ว มีผลเกิดขึ้นคือ สัตว์หลุดพ้นจากความทุกข์ หรือจากวัฏฏสงสาร. นี่ทำให้เห็นความแตกต่างกันอยู่คือ ตัดอนุสัยได้ทำให้สันดานบริสุทธิ์ ตัดสัญโญชน์


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ