[Font : 15 ]
| |
สังฆะ

1. พยัญชนะ : สังฆะโดยพยญชนะ : คือหมู่.

2. อรรถะ : สังฆะโดยอรรถะ : คือหมู่คณะของพระอริยเจ้า และผู้พยายามเพื่อความเป็นอริยเจ้า.

3. ไวพจน์ : สังฆะโดยไวพจน์ : คือคณะ, ยูถะ (ฝูง), กายะ,สมุหะ, พยุฬหะ(หมู่) ฯลฯ

4. องค์ประกอบ : สังฆะโดยองค์ประกอบ :

4.1 โดยทางวินัย : เป็นไปตามบัญญัติไว้ในวินัย.

4.2 โดยทางธรรม : คือการปฏิบัติดี, การปฏิบัติตรง, การปฏิบัติถูกต้อง, การปฏิบัติสมควร.

5. ลักษณะ : สังฆะโดยลักษณะ : มีลักษณะ:

5.1 การรวมกันเป็นหมู่เดียวหมดทั้งพระพุทธศาสนา.

5.2 ปฏิบัติดี, ปฏิบัติตรง, ปฏิบัติถูกต้อง, ปฏิบัติสมควร.

5.3 เป็นศาสนทายาทสืบพระศาสนา.

5.4 เป็นรัตนะอย่างหนึ่งในรัตนะทั้งสาม.

5.5 กลมกลืน สามัคคี ปราศจากข้อขัดแย้ง.

6. อาการ : สังฆะโดยอาการ : มีอาการ :

6.1 อยู่กันเป็นหมู่.

6.2 รับผิดชอบร่วมกัน.

6.3 ปฏิบัติสนองพระพุทธประสงค์.

7. ประเภท : สังฆะโดยประเภท : แบ่งโดยประเภทสอง :

คู่ที่ 1 : สงฆ์ในธรรมวินัยนี้ กับสงฆ์ในธรรมวินัยอื่น (ในศาสนาอื่น).

คู่ที่ 2 : ภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์.

คู่ที่ 3 : เสขสงฆ์A86 และอเสขสงฆ์A87.

คู่ที่ 4 :

สงฆ์โดยธรรม (เพราะปฏิบัติธรรม).

สงฆ์โดยวินัย (เพียงแต่บวชถูกต้องตามวินัย).

8. กฎเกณฑ์ : สังฆะโดยกฎเกณฑ์ :

8.1 สงฆ์มีเพียงหมู่เดียว ; ประกอบด้วยภิกษุทั้งหมดในพุทธศาสนา.

8.2 ต้องเป็นสมานสังวาส มีสิทธิเสมอกัน : ไม่ถือ แก่, หนุ่ม, สูง, ต่ำ, มาก, น้อย ฯลฯ)

8.3 โดยวินัยมีจำนวน 4 รูปขึ้นไป จึงจะเรียกว่าสงฆ์ (คือสังฆะ) คือ คำงานแทนในนามสงฆ์ทั้งหมดได้.

8.4 ต้องปฏิบัติตามธรรมะและวินัยอย่างครบถ้วน.

8.5 ต้องรับภาระในการสืบอายุพระศาสนา.

9. สัจจะ : สังฆะโดยสัจจะ :

9.1 เป็นอาหุเนยยบุคคลA88เนื้อนาบุญของโลก.

9.2 เป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณของสังคม.

9.3 เป็นศาสนทายาทในการประกาศพระศาสนา.

9.4 เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ หรือมีพรหมจรรย์ประพฤติจบแล้ว.

9.5 เป็นรัตนะอย่าง 1ใน 3 รัตนะ.

10. หน้าที่ : สังฆะโดยหน้าที่ :

10.1 ขวนขวายในการประพฤติพรหมจรรย์ส่วนตนให้ก้าวหน้า หรือถึงที่สุด.

10.2 สืบอายุพระศาสนา.

10.3 ประพฤติเป็นตัวอย่างและเป็นผู้นำ ในการกำจัดความเห็นแก่ตัวในโลก.

10.4 สนองพระพุทธประสงค์ในทุกความหมาย.

11. อุปมา : สังฆะโดยอุปมา : เปรียบเสมือน :

11.1 บุตรของพระพุทธเจ้า.

11.2 เพื่อนหรือพี่น้องของหมู่สัตว์.

11.3 โยธีผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนา.

12. สมุทัย : สังฆะโดยสมุทัย : (สมุทัยแห่งการเกิดคณะสงฆ์)

12.1 สัญชาตญานแห่งกานรวมหมู่ ดลบันดาลให้พระศาสดาแห่งศาสนานั้นๆ จัดตั้ง สาวกของตนๆ เป็นคณะสงฆ์ขึ้น.

12.2 ความจำเป็นที่ต้องอยู่กันเป็นหมู่ จึงต้องมีการจัดความอยู่กันเป็นอยู่อย่างมีระเบียบ.

13. อัตถังคมะ : สังฆะโดยอัตถังคมะ :

13.1 ความเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของสังขารตามธรรมชาติ.

13.2 ความแตกสามัคคีระหว่างสงฆ์เอง.

14. อัสสาทะ : สังฆะโดยอัสสาทะ :

14.1 การมีศาสนาเป็นมรดกตกทอดมาถึงเราผู้เกิดภายหลัง.

14.2 เป็นบุญญเขตให้เกิดบุญโดยสะดวก.

14.3 เป็นเสาหลักแห่งสันติภาพของหมู่สัตว์.

14.4 เป็นกัลยาณมิตรทางวิญญาณของทุกคน.

15. อาทีนวะ : สังฆะโดยอาทีนวะ : อาทีนวะจากสังฆะไม่มี : แต่มีอาทีนวะแก่สังฆะ คือ : ความเลอะเลือนของธรรมวินัย หรือการแตกสามัคคี เป็นต้น.

16. นิสสรณะ : สังฆะโดยนิสสรณะ : นิสสรณะจากสังฆะไม่มี ; แต่สังฆะเป็นผู้นำทางนิสสรณะออกจากทุกข์.

17. ทางปฏิบัติ : สังฆะโดยทางปฏิบัติ : ทางปฏิบัติของสังฆะเองก็ดี ; ทางปฏิบัติเพื่อบุคคลเข้าสู่สังฆะ ก็ดี ; รวมกันอยู่ที่สิ่งที่เรียกว่า ; อริยอัฏฐังคิกมรรคหรือพรหมณจรรย์หรือธรรมวินัย.

18. อานิสงส์ : สังฆะโดยอานิสงส์ :

18.1 เป็นหลักเป็นประธานของสังคมไทยในหารสร้างสันติภาพ.

18.2 เป็นผู้นำในการทำความรอดทั้งทางกายและทางจิต.

18.3 เป็นฐานที่ตั้งแห่งสังคมสงเคราะห์อย่างลึกซึ้ง.

18.4 เป็นตัวอย่างและผู้นำในการปิดประตูอบายทุกชนิดทุกระดับ.

18.5 ทำให้หมู่สัตว์มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า.

18.6 เป็นดวงประทีปแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

19. หนทางถลำ : สังฆะโดยหนทางถลำ : เข้าไปสู่ความเป็นสมาชิกของสังฆะ :

19.1 ความเห็นแก่ประโยชน์ใหญ่หลวงยิ่งกว่าประโยชน์เล็กน้อย

19.2 การบีบคั้นของโลกในเพศฆราวาส.

19.3 ประเพณีปารบวช.

20. สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง: สังฆะโดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : ในการเข้าสู่สังฆะ :

20.1 สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะที่เพียงพอ.

20.2 ความเข้มแข็งทางกาย ทางจิต ทางสติปัญญา.

21. ภาษาคน - ภาษาธรรม : สังฆะโดยภาษาคน - ภาษาธรรม :

21.1 ภาษาคน : หรือภาษาเด็ก : คือผู้บวชนุ่งเหลืองห่มเหลือง.

ภาษาธรรม : ผู้กำลังประพฤติพรหมจรรย์ หรือประพฤติจบพรหมจรรย์.

21.2 ภาษาคน : ลูกชาวบ้าน.

ภาษาธรรม : ลูกพระพุทธเจ้า.

ธรรมโฆษณ์ที่แนะนำให้อ่าน

1. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์

2. นวกานุสาสน์ เล่ม 1

3. เยาวชนกับศีลธรรม

4. อริยสัจจากพระโอษฐ์


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง