[Font : 15 ]
| |
เครื่องประดับของพรหมจรรย์ |  

ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ มีการทำตามสิกขาเป็นอานิสงส์, มีปัญญาเป็นยอด, มีวิมุตตเป็นแก่นสาร, มีสติเป็นอธิปไตย.

ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีการทำตามสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้, สิกขาที่เนื่องด้วยอภิสมาจาร เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดความเลื่อมใส เพื่อให้คนที่เลื่อมใสแล้ว เลื่อมใสยิ่งขึ้น. สิกขาที่เนื่องด้วยอภิสมาจาร เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใส เกิดความเลื่อมใส พื่อให้คนที่เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น, ในลักษณะอย่างใดๆ; สาวกนั้นก็เป็นผู้ทำตามสิกขานั้น ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ในลักษณะอย่างนั้นๆ. อนึ่ง สิกขาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบด้วยประการทั้งปวง. สิกขาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญยัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบด้วยประการทั้งปวง, ในลักษณะอย่างใดๆ; สาวกนั้นก็เป็นผู้ทำตามสิกขานั้นไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย สามาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ในลักษณะอย่างนั้นๆ. ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอด เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้, ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบด้วยประการทั้งปวง. ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบด้วยประการทั้งปวง, ในลักษณะอย่างใดๆ; ธรรมทั้งปวงนั้น สาวกของเรา ก็พิจารณาเห็นได้อย่างดีด้วยปัญญา, ในลักษณะอย่างนั้น ๆ. ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอด เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นสาร เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้, ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบทุกประการทั้งปวง, ในลักษณะอย่างใดๆ ธรรมทั้งปวงนั้น สาวกของเรา ก็ถูกต้องได้แล้ว017.6 ด้วยความหลุดพ้น, ในลักษณะอย่างนั้นๆ. ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นสาร เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตย เป็นอย่างไรเล่า? สติอันสาวกของเราตั้งไว้ด้วยดีในภายในว่า ไเราจักทำสิกขาที่เนื่องด้วยอภิสมาจารทั่งไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์ ดังนี้บ้าง, เราจักประคับประคองสิกขาที่เนื่องด้วยอภิสมาจารย์ที่บริบูรณ์แล้วไว้ด้วยปัญญา ในสถานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง" สติอันสาวกของเราตั้งไว้ด้วยดีในภายในว่า "เราจักทำสิกขาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์ ดังนี้บ้าง. เราจักประคับประคองสิกขาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่บริบูรณ์แล้ว ไว้ด้วยปัญญา ในสถานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง. สติ อันสาวกของเราตั้งไว้ด้วยดีในภายในว่า "เราจักพิจารณาด้วยปัญญาให้เห็นธรรมที่ยังไม่เห็น ในสถานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง, เราจักประคับประคองธรรมที่พิจารณาเห็นแล้วไว้ด้วยปัญญา ในสถานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง". สติอันสาวกของเราตั้งไว้ด้วยดีในภายในว่า "เรารู้จักถูกต้องธรรมที่ยังไม่ถูกต้อง, ด้วยความหลุดพ้น, ดังนี้บ้าง, เราจักประคับประคองธรรมที่ได้ถูกต้องแล้วไว้ด้วยปัญญา ในสถานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง ดังนี้. ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตย เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุ ท.! ที่เรากล่าวว่า "พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ มีสิกขาเป็นอานิสงส์, มีปัญญาเป็นยอด, มีวิมุตติเป็นแก่นสาร, มีสติเป็นอธิปไตย" ดังนี้นั้น เรากล่าวหมายเอาอธิบายที่ว่ามานี้แล.

- บาลี พระพุทธภาษิต จตุกฺก. อํ. 21/329/245.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง