[Font : 15 ]
| |
สัตว์โลกรู้จักสุขอันแท้จริง ต่อเมื่อปัญญาเกิด

มาคัณฑิยะ ! เปรียบเหมือนบุรุษตามืดมาแต่กําเนิด เขาจะมองเห็น รูปทั้งหลาย ที่มีสีดําหรือขาว เขียวหรือเหลือง แดงหรือขาบ ก็หาไม่, จะได้เห็น ที่อันเสมอหรือไม่เสมอ ก็หาไม่, จะได้เหนดวงดาว หรือดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ก็หาไม่. เขาได้ฟังคําบอกเล่าจากบุรุษผู้ที่ตาดี ว่า "ท่านผู้เจริญ ! ผ้าขาวเนื้อดี นั้น เป็นของงดงาม ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด", ดังนี้. เขาเที่ยวแสวงหา ผ้าขาวนั้น. บุรุษผู้หนึ่งลวงเขาด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าว่า "นี่แล เป็นผ้าขาว เนื้อดี เป็นของงดงาม ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด." ดังนี้ เข้ารับผ้านั้น แล้วและห่มผ้านั้น. ต่อมา มิตรอมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา เชิญแพทย์ผ่าตัด ผู้ชํานาญมารักษา. แพทย์พึงประกอบยาถ่ายโทษในเบื้องบน ถ่ายโทษในเบื้องต่ำ ยาหยอด ยาหยอดให้กัด และยานัตถุ์. เพราะอาศัยยานั้นเอง เขากลับมี จักษุดี ละความรักใคร่พอใจในผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าเสียได้ พร้อมกับการเกิด ขึ้นแห่งจักษุที่ดี เขาจะพึงเป็นอมิตร เป็นข้าศึกหมายมั่น ต่อบุรุษผู้ลวงเขานั้น หรือถึงกับเข้าใจเลยไปว่า ควรจะปลงชีวิตเสียด้วยความแค้น ว่า "ท่านผู้เจริญ เอ๋ย ! เราถูกบุรุษผู้นี้ คดโกง ล่อลวง ปลอมเทียมเอาด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าว่า "นี่ท่านผู้เจริญ !. นี้เป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของงดงามปราศจากมลทิน เป็นผ้า สะอาด, มานานนักแล้ว”, อุปมานี้ ฉันใด; มาคัณฑิยะ! อุปไมยก็ฉันนั้น เหมือนกัน, คือเราแสดงธรรมแก่ท่านว่า "เช่นนี้เป็นความไม่มีโรค, เช่นนี้เป็น นิพพาน" ดังนี้; ท่านจะพึงรู้จักความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้ ก็ต่อเมื่อท่าน ละความเพลิดเพลินและความกําหนัด ในอุปาทานนักขันธ์ทั้งห้าเสียได้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุของท่าน; และความรู้สึกจะพึงเกิดขึ้นแก่ท่านว่า "ท่านผู้เจริญ เอ๋ย ! นานจริงหนอ, ที่เราถูกจิตนี้ คดโกง ล่อลวง ปลิ้นปลอก จึงเราเมื่อจะยึดถือ ก็ยึดถือเอาแล้วซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร และซึ่งวิญญาณ นั่นเอง. เพราะความยึดถือเป็นต้นเหตุ ภพจึงมีแก่เรา, เพราะภพเป็นต้นเหตุ ชาติจึงมีแก่เรา, เพราะชาติเป็นต้นเหตุ ชรา มรณะ โศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดขึ้นพร้อมหน้า. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้." ดังนี้แล.

- ม.ม. 13/284/290.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง