[Font : 15 ]
| |
ปัจจยาการแห่งเวทนา โดยละเอียด

ปัจจยาการแห่งเวทนา โดยละเอียดPTC67

(หลังจากที่ได้ทรงประทับอยู่ด้วยการหลีกเร้น เป็นเวลากึ่งเดือน เสด็จออกจากที่หลีกเร้นนั้นแล้ว ได้ตรัสว่า:-)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราได้อยู่แล้วโดยประเทศPTC68 แห่งวหารธรรม อย่างเดียวกันกับวิหารธรรมที่เราเคยอยู่แล้ว เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ. เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า:-

“เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาทิฏฐิบ้าง ; -สัมมาทิฏฐิบ้าง ;

เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสังกัปปะบ้าง ; -สัมมาสังกัปปะบ้าง ;

เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวาจาบ้าง ; -สัมมาวาจาบ้าง ;

เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉากัมมันตะบ้าง ; -สัมมากัมมันตะบ้าง ;

เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาอาชีวะบ้าง ; -สัมมาอาชีวะบ้าง ;

เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวายามะบ้าง ; -สัมมาวายามะบ้าง ;

เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสติบ้าง ; -สัมมาสติบ้าง ;

เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสมาธิบ้าง ; -สัมมาสมาธิบ้าง ;

เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะบ้าง ;

เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือวิตกบ้าง ;

เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัญญาบ้าง ;

เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตกและสัญญา ที่ยังไม่เข้าไปสงบ รำงับบ้าง;

เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตกและสัญญา ที่เข้าไปสงบ รำงับแล้วบ้าง;

เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือการบรรลุถึงฐานะที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุถึงบ้าง” ดังนี้.

(อีกสูตรหนึ่งPTC69ได้ตรัสโดยข้อความที่แปลกออกไปอีกบางประการว่า)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราได้อยู่แล้ว โดยประเทศแห่งวิหารธรรม อย่างเดียวกันกับวิหารธรรมที่เราเคยอยู่แล้วเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ , เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้ เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า :-

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาทิฎฐิบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉาทิฎฐิบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาทิฎฐิบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาทิฎฐิบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสังกัปปะบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉาสังกัปปะบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสังกัปปะบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาสังกัปปะบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวาจาบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉาวาจาบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาวาจาบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาวาจาบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉากัมมันตะบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉากัมมันตะบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมากัมมันตะบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมากัมมันตะบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาอาชีวะบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉาอาชีวะบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาอาชีวะบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาอาชีวะบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวายามะบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉาวายามะบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาวายามะบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาวายามะบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสติบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉาสติบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสติบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาสติบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสมาธิบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉาสมาธิบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสมาธิบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาสมาธิบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งฉันทะบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือวิตกบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งวิตกบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัญญาบ้าง ; -ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัญญาบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตกและสัญญาที่ยังไม่เข้าไปสงบรำงับบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตกและสัญญา ที่เข้าไปสงบรำงับแล้วบ้าง” ;

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือการบรรลุถึงฐานะที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุถึงบ้าง” ดังนี้

หมายเหตุผู้รวมรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า วิหารธรรมชนิดที่ทรงเคยอยู่ เมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ เป็นวิหารธรรมชนิดที่ทำความง่ายแก่การเกิดญาณ หรือความรู้ต่างๆ ; ดังนั้นพระองค์จึงตรัสว่าได้รู้ชัดธรรมอันเกี่ยวกับเวทนาเหล่านี้ เมื่ออยู่ด้วยประเทศแห่งวิหารธรรมชาตินั้น สำหรับคำว่าเวทนา (เวทยิตํ) ในพระบาลีนี้ จะต้องมีความหมายกว้างกว่าความหมายของคำว่า “เวทนาที่มีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย” ที่พูดกันตามธรรมดา แต่หมายถึงความรู้สึกที่เป็นไปในลักษณะของความรู้หรือญาณ ในระดับใดระดับหนึ่งด้วยก็ได้ ; หรืออย่างน้อยก็เหมือนกับความหมายของคำว่าเวทนาแห่งคำว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธ” มากกว่า ; หรืออีกอย่างหนึ่งก็เล็งถึงความหมายของคำว่าเวทนาซึ่งมาในประโยคที่ตรัสว่า “เรากล่าวอริยสัจ 4 สำหรับสัตว์ผู้มีเวทนาอยู่” ; ดังนั้น จึงมีปัจจัยมากมายถึง 22 หรือ 41 ปัจจัย. ปัจจัยนั้นๆทำให้เกิดเวทนาขึ้นมา จัดเป็นปัจจยาการหนึ่งๆ แห่งลักษณะของอิทัปปัจจยตา หรือปฎิจจสมุปบาทได้.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ