[Font : 15 ]
| |
อิทัปปัจจยตา

1. พยัญชนะ : อิทัปปัจยตาโดยพยัญชนะ : คือ ความมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

2. อรรถะ : อิทัปปัจยตาโดยอรรถะ :

2.1 ทุกสิ่งมีปัจจัยแห่งการเกิดและการดับ.

2.2 เมื่อปัจจัยแห่งการเกิดมีแก่สิ่งใด ; สิ่งนั้นๆ ก็เกิดขึ้นและมีอยู่.

2.3 เมื่อปัจจัยไม่มีแก่สิ่งใด ; สิ่งนั้นก็ไม่มีอยู่หรือดับ.

ข้อนี้หมายความว่า ไม่เกี่ยวกับพระเจ้าผู้สร้าง เป็นต้น ; และมิได้หมายความว่า ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยอะไรเสียเลย.

3. ไวพจน์ : อิทัปปัจยตาโดยไวพจน์ : คือ ปฏิจจสมุปบาท, ธัมมัฏฐิตตา, ธัมมนิยามตา, ตถตา, อวิตถตา, อนัญญถตา, ยถาปัจจยปวัตตนตา.

4. องค์ประกอบ : อิทัปปัจยตาโดยองค์ประกอบ : มีสาม : คือ เหตุ, ผล และการปรุงแต่ง.

5. ลักษณะ : อิทัปปัจยตาโดยลักษณะ : มีลักษณะ :

5.1 เป็นกฎธรรมชาติ.

5.2 ภาวะแห่งการปรุงแต่ง.

5.3 เป็นมัชฌิมาปฏิปทา.

6. อาการ : อิทัปปัจยตาโดยอาการ : มีอาการ :

6.1 สัมพันธ์กันเป็นสายเหมือนลูกโซ่.

6.2 เป็นอนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา, ตถตา ฯลฯ

7. ประเภท : อิทัปปัจยตาโดยประเภท :

7.1 แบ่งโดยประเภทสอง :

1. อิทัปปัจจยตาที่นำไปสู่จุดหมายปลายทาง คือ อสังขตะ.

2. อิทัปปัจจยตาที่วนเวียนอยู่ในฝ่ายสังขตะเท่านั้น.

7.2 อิทัปปัจจยตาตามปกติที่ใช้กับฝ่ายสังขตะเท่านั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท :

1. อิทัปปัจจยตาของสิ่งที่เป็นเหตุ.

2. อิทัปปัจจยตาของสิ่งที่เป็นผล.

3. อิทัปปัจจยตาของปัจจยาการ (การปรุงแต่ง).

8. กฎเกณฑ์ : อิทัปปัจยตาโดยกฎเกณฑ์ :

8.1 ต้องมีเหตุและเป็นไปตามเหตุ.

8.2 จะเกิดขึ้นหรือดับลงก็แล้วแต่เหตุ.

9. สัจจะ : อิทัปปัจยตาโดยสัจจะ :

9.1 เป็นกฎตายตัวแห่งธรรมประเภทสังขตะ.

9.2 เป็นกฎธรรมชาติที่มีอยู่เอง ไม่มีใครสร้าง (กฎธรรมชาติทั้งหลายมีลักษณะเป็นอสังขตะ).

9.3 เป็นแม่บทแห่งกฎทั้งหลายที่เกี่ยวกับสังขตธรรม.

9.4 เป็นกฎแม่บทแห่งกฎวิวัฒนาการ.

9.5 เป็นกฎที่ควบคุมการเกิดขึ้นและการดับลงแห่งทุกข์.

9.6 เป็นสิ่งที่ผู้ไม่รู้หลงยึดถือเอาส่วนใดส่วนหนึ่ง (ของกระแสแห่งอิทัปปัจจยตา) ว่าเป็นตัวเรา ; เป็นของเรา.

10. หน้าที่ : อิทัปปัจยตาโดยหน้าที่ (โดยสมมติ) : ควบคุมสากลจักรวาล ในความหมายที่เขาใช้กันกับพระผู้เป็นเจ้า ; คือ ผู้สร้าง, ผู้ควบคุม และผู้ทำลาย.

11. อุปมา : อิทัปปัจยตาโดยอุปมา : เปรียบเสมือน :

11.1 พระเป็นเจ้า.

11.2 ผ้าซับน้ำตา (สำหรับผู้รู้จักใช้เมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้น).

12. สมุทัย : อิทัปปัจยตาโดยสมุทัย : ไม่มี. แต่อิทัปปัจจยตาที่เนื่องกันเป็นสายเป็นสมุทัยให้แก่กันและกัน.

13. อัตถังคมะ : อิทัปปัจยตาโดยอัตถังคมะ : ไม่มี. เพราะเป็นอสังขตะ ; มีแต่อัตถังคมะของอิทัปปัจจยตาแต่ละขั้นๆ ที่เนื่องกันเป็นสาย.

14. อัสสาทะ : อิทัปปัจยตาโดยอัสสาทะ : ไม่มีในอาการของอิทัปปัจจยตาแต่ละอาการ ; แต่มี ในกฎของอิทัปปัจจยตาที่ได้ใช้อาศัยเพื่อการดับทุกข์.

15. อาทีนวะ : อิทัปปัจยตาโดยอาทีนวะ : มีแก่ผู้ไม่รู้จัก แล้วไม่ปฏิบัติตามกฎอิทัปปัจจยตาโดยไม่รู้สึกตัว.

16. นิสสรณะ : อิทัปปัจยตาโดยนิสสรณะ : คือ การปฏิบัติตามกฏอิทัปปัจจยตาฝ่ายนิโรธ เป็นหนทางออกจากอำนาจของอิทัปปัจจยตาเอง.

17. ทางปฏิบัติ : อิทัปปัจยตาโดยทางปฏิบัติ : เพื่อให้ได้รับผลตามกฏอิทัปปัจจยตา :

17.1 มีสติในขณะแห่งผัสสะ เพื่อควบคุมผัสสะให้เป็นวิชชาสัมผัสอยู่เสมอ.

17.2 มีสติควบคุมเวทนา ไม่ให้ปรุงเป็นตัณหา ; ให้รู้แต่เพียงว่าจัดการอย่างไรกับเวทนานั้น.

17.3 มีสติปัญญาควบคุมตัณหา มิให้ปรุงเป็นอุปาทาน. (หากแต่เป็นข้อปฏิบัติที่ยากอย่างยิ่งสำหรับสามัญสัตว์).

18. อานิสงส์ : อิทัปปัจยตาโดยอานิสงส์ :

18.1 อานิสงส์อย่างโลกๆ ของอิทัปปัจจยตา : คือ ทำให้เกิดโอกาสแห่งการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเท่าที่จะทำได้.

18.2 อานิสงส์ของความรู้เรื่องอิทัปปัจจยตา : คือ สามารถตั้งอยู่ในมัชฌิมาปฏิปทา ; ไม่ตกไปสุดโต่งฝ่ายอัตตาและฝ่ายนิรัตตา และของคู่ตรงกันข้ามอื่นๆ เช่น ดี - ชั่ว, บุญ - บาป เป็นต้น.

18.3 อานิสงส์แห่งการปฏิบัติตามกฏอิทัปปัจจยตา : คือ ดับทุกข์โดยสิ้นเชิง.

19. หนทางถลำ : อิทัปปัจยตาโดยหนทางถลำ : เข้าไปในกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาฝ่ายดับทุกข์ : คือ ความบังเอิญมีสติในขณะแห่งผัสสะและเวทนา.

20. สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : อิทัปปัจยตาโดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : ในการปฏิบัติตามหลักอิทัปปัจจยตา :

20.1 ลำดับของการปฏิบัติที่จะต้องรักษา : มีสาม :

1. การรู้เรื่องอิทัปปัจจยตาไปตามลำดับ (เรียกว่า สัจจานุโพธา).

2. การปฏิบัติและการบรรลุไปตามลำดับ ซึ่งความจริงของกฎอิทัปปัจจยตา (เรียกว่า สัจจานุปัตติ).

3. การรักษาความรู้เรื่องอิทัปปัจจยตาไปตามลำดับ (เรียกว่า สัจจานุรักขณา).

20.2 ธรรมะ 4 เกลอ :

1. สติ ระลึกถึงธรรมทั้งหลายที่อาจจะแก้ปัญหานั้นได้ทันเวลา.

2. ปัญญาหรือความรู้ ที่สติเลือกคัดเอามาอย่างเหมาะสมแก่เหตุการณ์นั้นๆ.

3. สัมปชัญญะ คือ ปัญญานั้นเผชิญหน้ากับเหตุการณ์นั้นอยู่ด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อม.

4. สมาธิ คือ กำลังจิตที่เพิ่มให้อย่างเพียงพอ.

ทั้ง 4 อย่างนี้ทำงานสัมพันธ์กันเป็นกลุ่มอย่างประสานกัน.

21. ภาษาคน - ภาษาธรรม : อิทัปปัจยตาโดยภาษาคน - ภาษาธรรม :

ภาษาคน : “สายเวรสายกรรม”.

ภาษาธรรม : กระแสแห่งการอาศัยกันแล้วเกิดขึ้นหรือดับลง.

ธรรมโฆษณ์ที่แนะนำให้อ่าน

1. ไกวัลยธรรม

2. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์

3. อิทัปปัจจยตา


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง