[Font : 15 ]
| |
การพ้นทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจนั้น เป็นไปไม่ได้ |  

ภิกษุ ท.! เปรียบเสมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องทำพื้นฐานรากในเบื้องล่างของเรือนดอก แต่ฉันจักทำตัวเรือนข้างบนได้” ดังนี้ : นี่ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ฉันใด; ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องรู้จักความจริงอันประเสริฐ คือ ความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์: เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์. และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นั้นดอก แต่ฉันจักทำความสิ้นทุกข์ได้ โดยถูกต้อง;” ดังนี้

ภิกษุ ท.! และเปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันต้องทำฐานรากของเรือนตอนล่างเสียก่อน จึงจักทำตัวเรือนข้างบนได้” ดังนี้ : นี่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันใด ; ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดจะพึงกล่าวว่า “ฉันครั้นรู้ความจริงอันประเสริฐคือความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์: เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์. และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์แล้ว จึงจักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง;” ดังนี้.

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์. นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์;” ดังนี้เถิด

- มหาวาร. สํ. 19/564/1735-1736.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง