[Font : 15 ]
| |
อวิชชาสัมผัสคือต้นเหตุอันแท้จริงของปฏิจจสมุปบาท

อวิชชาสัมผัสคือต้นเหตุอันแท้จริงของปฏิจจสมุปบาทPTC73

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อสำคัญเห็น, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งอัตตา, (ตน) มีอย่างต่างๆ : สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมสําคัญเห็นซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 อย่างนั้นบ้าง, หรือว่า ย่อมสําคัญเห็นซึ่งอุปาทานขันธ์ ขันธ์ใด ขันธ์หนึ่ง ในบรรดาปัญจุปาทานขันธ์เหล่านั้นบ้าง (ว่าเป็นอัตตา).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย! ในโลกนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนําในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนําในธรรมของสัปบุรุษ : (1) เขาย่อมสําคัญเห็น ซึ่งรูป โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมสําคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูปบ้าง, ย่อมสําคัญเห็นซึ่งรูปในตนบ้าง, ย่อมสําคัญเห็นซึ่งตนในรูปบ้าง ; (2) เขาย่อมสําคัญเห็น ซึ่งเวทนา โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมสําคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนาบ้าง, ย่อมสําคัญเห็นซึ่งเวทนาในตนบ้าง, ย่อมสําคัญเห็นในเวทนาบ้าง ; (3) เขาย่อมสําคัญเห็น ซึ่งสัญญา โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมสําคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญาบ้าง, ย่อมสําคัญเห็น ซึ่งสัญญาในตนบ้าง, ย่อมสําคัญเห็นซึ่งตนในสัญญาบ้าง ; (4) เขาย่อมสําคัญเห็นซึ่ง สังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมสําคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสังขารบ้าง, ย่อมสําคัญ เห็นซึ่งสังขารในตนบ้าง, ย่อมสําคัญเห็นซึ่งตนในสังขารบ้าง ; (5) เขาย่อมสําคัญเห็น ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมสําคัญเห็นซึ่งตนว่ามีวิญญาณบ้าง, ย่อมสําคัญเห็นซึ่งวิญญาณในตนบ้าง, ย่อมสําคัญเห็นซึ่งตนในวิญญาณบ้าง.

เป็นอันว่า การสําคัญเห็นดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ ย่อมมีด้วย, การถึงทับ จับฉวย (อธิคตํ) ของภิกษุนั้นว่า "เรามีอยู่” , ดังนี้ ก็มีด้วย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุนั้น ถึงทับจับฉวยว่า "เรามีอยู่ (อสฺมีติ)” ดังนี้แล้ว ลําดับนั้น การก้าวลงแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย 5 ประการ ย่อมมีขึ้น ; ได้แก่ อินทรีย์คือ ตา อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! มโน มีอยู่, ธรรมทั้งหลาย มีอยู่, อวิชชาธาตุ มีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว เป็นผู้อันเวทนาอันเกิด จากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว, ความถึงทับจับฉวย ว่า “เรามีอยู่ (อสฺมีติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา : ว่า นี้เป็น “เรา (อยมหมสฺมีติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา: ว่า “เราจักมี (ภวิสสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา : ว่า “เราจักไม่มี (น ภวิสสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมี แก่เขา : ว่า “เราจักเป็นสัตว์มีรูป (รูปี ภวิสฺสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา : ว่า “เราจัก เป็นสัตว์ไม่มีรูป (อรูปี ภวิสฺสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา ว่า “เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา (สญญี ภวิสฺสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา ว่า “เราจักเป็นสัตวฺไม่มีสัญญา (อสญฺปี ภวิสฺสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา : ว่า “เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ทั้งหลาย 5 ประการ ย่อมตั้งอยู่ ในการ ถึงทับจับฉวยเหล่านั้นนั่นเทียว. แต่ว่า ในกรณีที่อวิชชา เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมละเสียได้, วิชชาย่อมเกิดขึ้น เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา โดยการสํารอก ไม่เหลือแห่งอวิชชา ของอริยสาวกนั้น ความถึงทับจับฉวยว่า “เรามีอยู่” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, ว่า “นี้เป็นเรา” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, ว่า “เราจักมี” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ; ว่า “เราจักไม่มี” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มี แก่อริยสาวกนั้น ; ว่า “เราจักเป็นสัตว์มีรูป” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ; ว่า “เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ; ว่า “เราจักเป็นสัตว์ มีสัญญา” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ; ว่า “เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ; ว่า “เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่สัญญาก็ไม่ใช่” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, ดังนี้ แล.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ