[Font : 15 ]
| |
ธรรมเครื่องทำความเต็มเปี่ยมแห่งกำลังของสมาธิ |  

ภิกษุ ท.! ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะถึงความมีกำลังในสมาธิ. 6 ประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! 6 ประการในกรณีนี้คือ :-

1. ภิกษุ ไม่เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสู่สมาธิ ;

2. ภิกษุ ไม่เป็นผู้ฉลาดในการดำรงอยู่ในสมาธิ ;

3. ภิกษุ ไม่เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ;

4. ภิกษุ ไม่เป็นผู้มีปกติกระทำ (สมาธิ) โดยเอื้อเฟื้อ ;

5. ภิกษุ ไม่เป็นผู้มีปกติกระทำ (สมาธิ) โดยติดต่อ ;

6. ภิกษุ ไม่เป็นผู้มีปกติกระทำด้วยธรรมเป็นสบาย (แก่สมาธิ).

ภิกษุ ท.! ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรม 6 ประการเหล่านี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะถึงความมีกำลังในสมาธิ.

ภิกษุ ท.! ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการแล้ว เป็นผู้ควรเพื่อจะถึงความมีกำลังในสมาธิ. 6 ประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! 6 ประการในกรณีนี้ คือ :-

1. ภิกษุ เป็นผู้ ฉลาดในการเข้าสู่สมาธิ ;

2. ภิกษุ เป็นผู้ ฉลาดในการดำรงอยู่ในสมาธิ ;

3. ภิกษุ เป็นผู้ ฉลาดในการออกจากสมาธิ ;

4. ภิกษุ เป็นผู้ มีปกติกระทำ (สมาธิ) โดยเอื้อเฟื้อ ;

5. ภิกษุ เป็นผู้ มีปกติกระทำ (สมาธิ) โดยติดต่อ ;

6. ภิกษุ เป็นผู้ มีปกติกระทำด้วยธรรมเป็นที่สบาย (แก่สมาธิ).

ภิกษุ ท.! ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรม 6 ประการเหล่านี้แล เป็นผู้ควรเพื่อจะถึงความมีกำลังในสมาธิ.

- ฉกฺก. อํ 22/477/343.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง