[Font : 15 ]
| |
(3. อุปมาที่ 3) |  

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน บุรุษถือคบหญ้า ที่กำลังลุกโพลงมา กล่าวอยู่ว่า “เราจักเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลงนี้” ดังนี้. ภิกษุ ท.! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้นจะเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลง ได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุใดเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่า แม่น้ำคงคาลึกหาประมาณมิได้ ไม่เป็นการง่ายที่ใคร ๆ จะเผาให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลง รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า ดังนี้.”

ภิกษุ ท.! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหา 5 ประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่, และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนแม่น้ำคงคา อันใคร ๆ จะเผาให้ร้อนเดือดด้วยคบหญ้าไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น). ภิกษุ ท.! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง