[Font : 15 ]
| |
อาการที่ยุ่งยากที่สุดของปฏิจจสมุทบาทคืออาการของตัณหา

อาการที่ยุ่งยากที่สุดของปฏิจจสมุทบาทคืออาการของตัณหาPTC45

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งตัณหา แก่พวกเธอทั้งหลาย คือตัณหาซึ่งเป็นดุจมีข่ายเครื่องคลุมสัตว์ มีปกติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวข้องสัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง โลกนี้อันตัณหายึดโยงไว้ ห่อหุ้มไว้เป็นเหมือนกลุ่มด้วยยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่งของกลุ่มด้วยที่หนาแน่นไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือนเซิงหญ้ามุญซะและหญ้าปัพพชะ ย่อมไม่ล่วงพ้นซึ่งสังสารวัฏฏ์ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อความนั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าวบัดนี้.

ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ตัณหาเป็นอย่างไรเล่า ? จึงชื่อว่าเป็นดุจมีข่ายเครื่องคลุมสัตว์ มีปกติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเองโลกนี้อันตัณหายึดโยงไว้ ห่อหุ้มไว้เป็นเหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่งของกลุ่มด้ายที่หนาแน่นไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือนเซิงหญ้ามุญชะและหญ้าปัพพชะ ย่อมไม่ล่วงพ้นซึ่งสังสารวัฏฏ์ ที่อบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ทั้งหลาย 18 ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายใน และตัณหาวิจริตทั้งหลาย 18 ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายนอก, เหล่านี้มีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตัณหาวิจริตทั้งหลาย 18 ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายใน เป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตัณหาวิจริตทั้งหลาย 18 ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายในนั้น เหล่านี้คือ (1) เมื่อมีความนึกว่า “เรามีอยู่ (อสมิ)" ดังนี้ : (2) ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างนี้ (อิตฺถสฺมิ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี : (3) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างนั้น (เอวสุมิ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี : (4) หรือว่าความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างอื่น (อญฺญถาสฺมิ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี : (5) หรือว่าความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างไม่เที่ยงแท้ (อสสฺมิ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี : (6) หรือว่าความนึกว่า "เราเป็นอย่างเที่ยงแท้ (สตตฺมิ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี : (7) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึ่งมี (สํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (8) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนี้ (อิตฺถํ สํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี : (9) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนั้น (เอวํ สํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี : (10) หรือว่าความนึกไปว่า "เราพึ่งมีอย่างอื่น (อญฺญถา สํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี : (11) หรือว่า ความนึกว่า "เราพึ่งมีบ้างหรือ (อปิ สํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี : (12) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึ่งมีอย่างนี้บ้างหรือ (อปิ อิตฺถํ สํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี : (13) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึ่งมีอย่างนั้นบ้างหรือ (อปิ เอวํ สํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (14) หรือว่าความนึกไปว่า "เราพึ่งมีอย่างอื่นบ้างหรือ (อปิ อญฺญถา สํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี : (15) หรือว่า ความนึกว่า "เราจักมีแล้ว (ภวิสฺสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี : (16) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างนี้ ( อิตฺถํ ภวิสฺสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี : (17) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างนั้น (เอวํ ภวิสฺสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (18) หรือว่าความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างอื่น (อญฺญถา ภวิสฺสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้คือ ตัณหาวิจริตทั้งหลาย 18 ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายใน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตัณหาวิจริตทั้งหลาย 18 ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายนอก เป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตัณหาวิจริตทั้งหลาย 18 ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายนอก เหล่านี้คือ (1) เมื่อมีความนึกว่า "เรามีอยู่ด้วยขันธ์ (อันเป็นภายนอก) อันนี้ (อิมินา อสฺมิ)" ดังนี้ ; (2) ความนึกไปว่า “เราเป็นอย่างนี้ ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินา อิตฺถสฺมิ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (3) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราเป็นอย่างนั้น ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินา เอวสฺมิ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (4) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราเป็นอย่างอื่น ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินา อญฺญถาสฺมิ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (5) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราเป็นอย่างไม่เที่ยงแท้ ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินา อสสฺมิ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (6) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราเป็นอย่างเที่ยงแท้ ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินา สตสฺมิ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (7) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราพึงมี ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินา สํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (8) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราพึงมีอย่างนี้ ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินาอิตฺถํ สํ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (9) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราพึงมีอย่างนั้น ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินา เอวํ สํ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (10) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราพึงมีอย่างอื่น ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินา อญฺญถา สํ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (11) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราพึงมีด้วยขันธ์อันนี้บ้างหรือ (อิมินา อปิ สํ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (12) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราพึงมีอย่างนี้ด้วยขันธ์อันนี้บ้างหรือ (อิมินา อปิ อิตฺถํ สํ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (13) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราพึงมีอย่างนั้นด้วยขันธ์อันนี้บ้างหรือ (อิมินา อปิ เอวํ สํ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (14) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราพึงมีอย่างนั้นด้วยขันธ์อันนี้บ้างหรือ (อิมินา อปิ อญฺญถา สํ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (15) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราจักมีแล้ว ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินา ภวิสฺสํ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (16) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราจักมีแล้วอย่างนี้ ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินา อิตฺถํ ภวิสฺสํ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (17) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราจักมีแล้วอย่างนั้น ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินา เอวํ ภวิสฺสํ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี ; (18) หรือว่า ความนึกไปว่า “เราจักมีแล้วอย่างอื่น ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินา อญฺญถา ภวิสฺสํ)” ดังนี้ ก็ย่อมมี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้คือ ตัณหาวิจริตทั้งหลาย 18 ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายนอก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยอาการอย่างนี้ จึงมีตัณหาวิจริตทั้งหลาย 18 ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายใน, และตัณหาวิจริตทั้งหลาย 18 ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายนอก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุนี้ เราย่อมกล่าวว่า ตัณหาวิจริตทั้งหลาย 36 ประการ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุนี้ เมื่อนับตัณหาวิจริต มีลักษณะอย่างนี้อันเป็นอดีต 36 ประการด้วย, อันเป็นอนาคต 36 ประการด้วย, อันเป็นปัจจุบัน 36 ประการด้วย, ตัณหาวิจริตทั้งหลาย 108 ประการ ย่อมมี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือตัณหา ซึ่งเป็นดุจมีข่ายเครื่องคลุมสัตว์ มีปกติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง โลกนี้อันตัณหายึดโยงไว้ ห่อหุ้มไว้เป็นเหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่งของกลุ่มด้ายที่หนาแน่นไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือนเซิงหญ้ามุญชะและหญ้าปัพพชะ ย่อมไม่ล่วงพ้นซึ่งสังสารวัฏฏ์ ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้ ดังนี้ แล.

หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ตัณหานั้นเป็นอาการของปฏิจจสมุปบาทอาการที่ 8, นับว่าเป็นอาการที่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้จิตใจของสัตว์ให้นุงนังสับสนเหมือนเซิงหญ้ามุญชะและกลุ่มด้ายที่ยุ่ง ดังที่กล่าวแล้วในพระบาลีนี้; แถมยังมีอาการของสิ่งที่ผูกมัด หุ้มหอ ครอบคลุมเหมือนตาข่าย แผ่ซ่านไปในภพต่างๆ มีอาการซับซ้อนเหลือจะประมาณได้; มีการเที่ยวไปในทิฏฐิต่างๆ เช่น ทิฏฐิ 18 ประการ, ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็นภายในและภายนอก และมีทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน : รวมได้เป็น 108 ชนิด ; นี้เป็นพวกที่อาศัยทิฏฐิ. เมื่อดูตามลักษณะที่อาศัยอารมณ์ทั้ง 6 มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น นับเป็น 6 อารมณ์, แล้วคูณด้วยเวทนา 3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา และตัณหา 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็เป็น 55 ชนิด ; แล้วคูณด้วยลักษณะ 2 คือที่เป็นภายในและภายนอกก็ตาม หรือจะคูณด้วยลักษณะแห่งเคหสิตและเนกขัมมสิต 2, อย่างนี้ก็ตาม ก็เป็น 108 ชนิด เช่นเดียวกัน : ใช้อธิบายได้ทั้งแก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ส่วนตัณหาวิจริต 108 ประการ นัยที่กล่าวแล้วข้างต้น สะดวกที่จะใช้อภิบายภวตัณหา และวิภวตัณหา ได้ทั้ง 2 อย่าง โดยปฏิปักขนัยต่อกันและกัน. นี่แหละคือความยุ่งยากซับซ้อนแห่งอาการของตัณหา ที่ซ่อนอยู่ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องกล่าวถึงเวลาหลังจากตายแล้วโดยทางร่างกายก็ได้.

คำว่า “เคหสิต” หมายถึง อาศัยกามารมณ์โดยตรง ในชีวิตของผู้ครองเรือน ในลักษณะแห่งกามสุชัลลิกานุโยค. ส่วน “เนกขัมมสิต” หมายถึงการออกจากเรือนประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อเกิดในสวรรค์รูปาพจร อรูปาพจร เป็นต้น ในลักษณะแห่งอัตตกิลมถานุโยค ดังนี้.

สำหรับคำว่า “ตัณหาวิจริต” นั้น เล็งถึงที่เที่ยว ที่โคจร ของตัณหา ; เป็นทิฏฐิก็ได้ เป็นอารมณ์ก็ได้ ดังจะเห็นได้จากข้อความข้างบนนั้น แล.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ