[Font : 15 ]
| |
คุ้มค่าข้าวสุก |  

ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่. คฤหบดีหรือบุตร คฤหบดีก็ตาม เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว นิมนต์ฉันอาหารในวันรุ่งขึ้น. ภิกษุ ท.! ภิกษุนี้มีความหวังในอาหารนั้นก็รับนิมนต์. ครั้นราตรีล่วงไป ถึงเวลาเช้า เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่เรือนแห่งคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีผู้นิมนต์, ถึงแล้วก็นั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้. คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ได้เลียงดูเธอนั้น ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยตนเอง ให้อิ่มหนำจนเธอบอกห้าม. เธอไม่นึกชมในใจทำนองนี้ว่า "วิเศษจริง, คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนี้ เลี้ยงเรา ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยตนเอง ให้อิ่มหนำจนเราต้องบอกห้าม" ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นก็ไม่นึกหวัง ต่อไปอีกว่า "โอหนอ, แม้วันต่อๆ ไป คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี พึงเลี้ยงเรา ดวยของเคี้ยวของฉันอันปราณีตด้วยตนเอง ให้อิ่มหนำจนต้องบอกห้าม อย่างนี้อีกเถิด" ดังนี้. เธอนั้นไม่ติดอกติดใจในรสอาหาร ไม่สยบ ไม่เมาหมก, มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ บริโภคอาหารนั้นอยู่. เธอนั้น ย่อมครุ่นคิดอยู่ด้วยความครุ่นคิดในทางออกจากกามบ้าง ครุ่นคิดอยู่ด้วยความครุ่นคิดในทางไม่เคียดแค้นบ้าง ครุ่นคิดอยู่ด้วยความครุ่นคิดในทางไม่ทำให้ผู้อื่นลำบากโดยไม่รู้สึกตัวบ้าง ณ ที่นั่งฉันนั้นเอง.

ภิกษุ ท.! เรากล่าวว่า "ทานที่ถวายแก่ภิกษุเช่นนี้ มีผลใหญ่" เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า ภิกษุนี้ เป็นผู้ไม่มัวเมา แล.

- บาลี พระพุทธภาษิต ติก. อํ. 20/354/563.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง