[Font : 15 ]
| |
(สูตรที่ 4 : ผัสสะ 6)

(สูตรที่ 4 : ผัสสะ 6)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง การปรากฏแห่งจักขุสัมผัส, อันใด ; อันนั้นเป็นการเกิดขึ้นแห่งทุกข์, เป็นการตั้งอยู่แห่งโรคทั้งหลาย, เป็นการปรากฏออกแห่งชราและมรณะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! และการดับไม่เหลือ การเข้าไปสงบระงับ การถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งจักขุสัมผัส, อันใด ; อันนั้น เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, เป็นการเข้าไปสงบระงับแห่งโรคทั้งหลาย, เป็นการถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ.

(ข้อความในกรณีแห่งจักขุสัมผัส เป็นอย่างไร ข้อความในกรณีแห่งโสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อสัมผัสไปตามชื่อของทวารนั้นๆ ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ผัสสะเกิดมาจากการประจวบพร้อมของสิ่งทั้งสาม คือ อายตนะภายใน อายตนะภานนอก, และวิญญาณ, เป็นผลให้เกิดเวทนา ตัณหา เป็นต้นจนเกิดทุกข์และเป็นที่ตั้งแห่งโรคเป็นต้น โดยนัยยะอย่างเดียวกันกับที่กล่าวแล้วในท้ายสูตรที่ 1.)


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ