[Font : 15 ]
| |
ผู้อยู่ใกล้นิพพาน |  

ภิกษุ ท.! ภิกษุ เมื่อประกอบพร้อมด้วยธรรม 4 อย่างแล้ว ไม่อาจที่จะเสื่อมเสีย มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียว. ธรรม 4 อย่างอะไรบ้างเล่า? 4 อย่างคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล, เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย, เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ, เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรมอยู่เป็นประจำ.

ภิกษุ ท.! ภิกษุ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล, มีการสำรวมโดยปาติโมกขสังวร, มีมรรยาท และโคจรสมบูรณ์อยู่, เป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้เล็กน้อย, สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุ ท.! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล.

ภิกษุ ท.! ภิกษุ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นรูปด้วยตา, ได้ฟังเสียงด้วยหู, ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก, ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น, ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย และได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ไม่รบถือเอาทั้งหมด และไม่แยกถือเอาเป็นส่วน ๆ,017.4 สิ่งที่เป็นอกุศล ลามกคืออภิชฌาและโทมนัส มักไหลไปตามภิกษุ ผู้ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำรวมอินทรย์ใดเป็นเหตุ, เธอก็ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้, เธอรักษา และถึงความสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ภิกษุ ท.! อย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.

ภิกษุ ท.! ภิกษุ เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร, ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง, แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพือ่ป้องกันความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ โดยกำหนดรุ้ว่า "เราจะกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสียแล้ว ไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น, ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุกสำราญจะมีแก่เรา" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.

ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ประกอบในชาคริยธรรมอยู่เนืองนิจ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากกิเลสที่กั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี, ครั้นยามกลางแห่งราตรี ย่อมสำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัปชัญญะในการลุกขึ้น, ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี กลับลุกขึ้น ก็ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากกิเลสที่กั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม และด้วยการนั่งอีก. ภิกษุ ท.! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรมอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุ ท.! ภิกษุ เมื่อประกอบพร้อมด้วยธรรมสีอย่างเหล่านี้แล้ว ไม่อาจที่จะเสื่อมเสีย มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียวแล.

- บาลี พระพุทธภาษิต จตุก.ก. อํ. 21/50/37.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง