[Font : 15 ]
| |
เสด็จบ้านหัตถิคาม โดยลำดับ |  

อานนท์! มาเถิด, เราจักไปสู่บ้านหัตถิคาม, บ้านอัมพคาม,บ้านชัมพุคามและโภคนคร. (ที่โภคนครประทับที่อานันทเจดีย์, ได้ตรัสหลักมหาปเทสสำหรับเทียบเคียงในการวินิจฉัยว่า ถ้ามีคำกล่าวอย่างนี้ๆ และอ้างว่าเป็นพุทธวจนะ, จะจริงหรือไม่).ภิกษุ ท.! ถ้าภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าฟังมาแล้วได้รับมาแล้ว เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัยนี้เป็นคำสอนของพระศาสดา, ดังนี้, พวกเธออย่าเพ่อรับรอง, อย่าเพ่อคัดค้าน. เธอกำหนดเนื้อความนั้นให้ดี แล้วนำไปสอบสวนในสูตร นำไปเทียบเคียงในวินัย, ถ้าลงกันไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ พึงแน่ใจว่า นั้นไม่ใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน ภิกษุรูปนั้นจำมาผิด, พวกเธอพึงทิ้งคำเหล่านั้นเสีย; ถ้าลงกันได้เทียบเคียงกันได้ พึงแน่ใจว่า นั่นเป็นคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่แล้วภิกษุรูปนั้นจำมาอย่างดีแล้ว, พวกเธอพึงรับเอาไว้. นี่เป็นมหาปเทส ข้อที่ 1, (ข้อต่อไปความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่คำอ้าง, ข้อที่ 2 อ้างว่า รับฟังมาจากสงฆ์ พร้อมทั้งเถระหัวหน้า อยู่ในอาวาสโน้น ๆ, ข้อที่ 3 รับฟังมาจากคณะเถระพหุสูต ผู้มีการศึกษา ทรงธรรมทรงวินัยทรงมาติกา ในอารามโน้น ๆ, ข้อที่สี่รับฟังมาจากภิกษุเถระพหุสูต ผู้มีการศึกษา ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา อยู่ในอาวาสโน้นๆ. แล้วทรงแสดงศีล-สมาธิ-ปัญญา โดยนัยเดียวกับที่สวนอัมพลัฎฐิกา อีกเป็นอันมาก).

- มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. 10/144/112.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง