[Font : 15 ]
| |
การใช้ความทุกข์ให้เป็นประโยชน์แก่บุถุชน |  

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาให้เห็นชัดอยู่เนือง ๆ ว่า “เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้” ดังนี้ ?

ภิกษุ ท. ! ความมัวเมาในความหนุ่ม มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย อันเป็นเหตุให้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต, เมื่อเขามองเห็นชัดในข้อนี้อยู่เนือง ๆ เขาย่อมละความมัวเมาในความหนุ่มโดยประการทั้งปวง หรือว่าบรรเทาลงได้. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาให้เห็นชัดในข้อนี้อยู่เนือง ๆ ว่า “เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้” ดังนี้.

(ในกรณีแห่งความ มัวเมาในความไม่มีโรค ก็ดี มัวเมาในชีวิต ก็ดี ความมี ฉันทราคะในสิ่งเป็นที่รัก ก็ดี ความที่ไม่รู้ว่ามีกรรมเป็นของตัว ก็ดี แล้วประกอบทุจริตโดยทวารทั้ง 3 ก็ได้ตรัสไว้โดยข้อความที่มีหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน. ข้อความนี้แสดงว่า พิจารณาทุกข์โดยประจักษ์แล้ว สัตว์เหล่านั้นย่อมละทุจริตเหล่านั้นเสียได้ จึงกล่าวว่า เป็นการใช้ความทุกข์ให้เป็นประโยชน์แก่บุถุชน.

สำหรับอริยสาวกนั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว มรรคย่อมเกิด. เขาเสพเจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นแล้ว ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็สิ้นไป).

- ปญฺจก. อํ. 22/82/57.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง