[Font : 15 ]
| |
โลกิยธรรม

1. พยัญชนะ : โลกิยธรรมโดยพยัญชนะ : คือ ธรรมเป็นวิสัยโลก.

2. อรรถะ : โลกิยธรรมโดยอรรถะ : คือ ธรรมที่เป็นไปหรือยังอยู่ในวิสัยโลก ; ยังไม่อยู่เหนืออำนาจการปรุงแต่งของโลก ; ตรงกันข้ามจากโลกุตตรธรรม.

3. ไวพจน์ : โลกิยธรรมโดยไวพจน์ : คือ โลกธรรม.

4. องค์ประกอบ : โลกิยธรรมโดยองค์ประกอบ :

1. ขาดความรู้เรื่องโลกุตตรธรรม.

2. ประกอบอยู่ด้วยสาสวสัมมาทิฏฐิA55.

3. เป็นเรื่องของบุคคลที่ยังมีความยึดถือว่าตัวตน.

4. ยังมุ่งหมายจะเวียนไปในวัฏฏะ.

ทั้งหมดนี้เป็นไปทั้งในส่วนปริยัติ, ปฏิบัติ, และปฏิเวธ.

5. ลักษณะ : โลกิยธรรมโดยลักษณะ : มีลักษณะ :

5.1 เป็นไปตามปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาร.

5.2 แห่งความทุกข์ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ, คือทั้งสุขและทุกข์, ทั้งกุศลและอกุศล, ทั้งดีและชั่ว.

5.3 แต่จะเป็นไปหรือคงอยู่ในวิสัยโลก.

5.4 ยังไม่สะอาด สว่าง สงบ และอิสระ.

6. อาการพยัญชนะ : โลกิยธรรมโดยอาการ :

6.1 มีอาการหมุนไปตามโลก เพราะไม่รู้เรื่องโลกุตตระ.

6.2 มีผลวนอยู่ในโลกธรรม 8 A56 ทั้งในส่วนที่เป็นการศึกษา การปฏิบัติและการรับผลของการปฏิบัติ.

6.3 มีอาการเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีที่สิ้นสุด ; จนกว่าจะเปลี่ยนเป็นโลกุตตระ.

7. ประเภท : โลกิยธรรมโดยประเภท :

7.1 แบ่งโดยประเภทสอง :

1. สำหรับปุถุชนทั่วไปกระทั่งพาลปุถุชน.

2. สำหรับปุถุชนชั้นดีหรือกัลยาณปุถุชน.

7.2 แบ่งโดยประเภทสาม :

กลุ่มที่ 1 : เมื่อเอาที่ตั้งอาศัยเป็นหลัก แบ่งโลกิยธรรมตามประเภทของพื้นที่ :

1. กามโลก (โลกของสัตว์ที่ยังปรารถนากาม).

2. รูปโลก (โลกพรหมชนิดมีรูป).

3. อรูปโลก (โลกพรหมชนิดไม่มีรูป).

สัตว์มนุษย์, สัตว์นรก, สัตว์เดรัจฉานรวมอยู่ในกามโลก.

กลุ่มที่ 2 : เมื่อเอาภูมิแห่งจิตใจเป็นหลัก แบ่งโลกิยธรรมออกตามประเภทของโลก อันเป็นที่อยู่ที่อาศัยตามภูมิแห่งจิตใจ :

1. กามาวจรภูมิ.

2. รูปาวจรภูมิ.

3. อรูปวจรภูมิ.

8. กฎเกณฑ์ : โลกิยธรรมโดยกฎเกณฑ์ :

8.1 โลกิยธรรมต้องเป็นสังขตธรรม; มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง หมุนเวียนและเกิดดับ.

8.2 โลกิยธรรมยังต้องเป็นไปด้วยอาสวะ และสูงสุดเพียงแค่บุญ มีอุปธิ (ของหนัก) เป็นวิบาก.

8.3 สัตว์หรือผู้ปฏิบัติจะต้องผ่านหรือรู้จักความจริง, ความสมบูรณ์ของโลกิยธรรมเสียก่อน จึงจะผ่านไปสู่โลกุตตระ.

9. สัจจะ : โลกิยธรรมโดยสัจจะ :

9.1 โลกิยธรรมทั้งหมดเป็นสิ่งผูกพันสัตว์ไว้กับภพหรือวัฏฏะ.

9.2 โลกิยธรรมเป็นสมบัติของสัตว์ที่ยังมีตัวตน ; ซึ่งจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งที่เป็นคู่, อันเป็นของมีอยู่ประจำโลก เช่น บุญ - บาป, สุข - ทุกข์, ได้ - เสีย, แพ้ - ชนะ ฯลฯ

9.3 โลกิยธรรมเป็นบทเรียนแห่งชีวิต ส่งเสริมสัตว์ให้เลื่อนจากโลกิยธรรมไปสู่โลกุตตรธรรม.

10. หน้าที่ : โลกิยธรรมโดยหน้าที่ :

10.1 หน้าที่ (โดยสมมติ) ของโลกิยธรรมต่อสัตว์โลก : มีหน้าที่ดึงสัตว์ให้จมติดอยู่ในโลก ; แต่พร้อมกันนั้น ก็ให้การสั่งสอนที่เจ็บปวด จนทำให้สัตว์โลกอยากจะออกไปจากโลก หรือเป็นอิสระอยู่เหนือโลก.

10.2 หน้าที่ของสัตว์โลกต่อโลกิยธรรม : คือ รู้จักและกำจัดอิทธิพลของโลกิยธรรม อย่าให้ครอบงำได้.

11. อุปมา : โลกิยธรรมโดยอุปมา : เปรียบเสมือน :

11.1 สิ่งสกปรกที่สวยงาม.

11.2 ยาพิษที่เคลือบน้ำตาล.

11.3 เหยื่อที่ซ่อนเบ็ดไว้ข้างใน.

11.4 ของน่าเกลียดสำหรับพระอริยเจ้า.

11.5 สวรรค์ของคนโง่.

12. สมุทัย : โลกิยธรรมโดยสมุทัย :

12.1 สมุทัยของโลกิยธรรม : คือ ธรรมชาติที่ปราศจากความรู้อันถูกต้อง ; ทำให้โลกิยธรรมเป็นสิ่งมีค่าน่ารักน่าพอใจขึ้นมา.

12.2 สมุทัยที่ทำให้สัตว์ตกอยู่ภายใต้โลกิยธรรม : คือ อวิชชาของสัตว์นั้นๆ นั่นเอง; และรวมไปถึงการคบหาสมาคมกับบุคคลที่มีอวิชชา.

13. อัตถังคมะ : โลกิยธรรมโดยอัตถังคมะ :

13.1 ความดับไปตามคราวเพราะขาดเหตุปัจจัยตามธรรมดาของสังขารธรรม หรือสังขตธรรมทั้งหลาย.

13.2 การดับไปของโลกิยธรรมที่กำลังครอบงำสัตว์อยู่ ดับไปด้วยอำนาจแห่งอริยมรรคญาณหรือด้วยอริยอัฏฐังคิกมรรค.

13.3 การอยู่ในโลกมานานพอจนรู้จักโลกและเบื่อโลก ; จนกระทั่งมีการดับไปแห่งโลกิยธรรม.

14. อัสสาทะ : โลกิยธรรมโดยอัสสาทะ :

14.1 มีแก่ปุถุชนเหมือนยาพิษเคลือบน้ำตาล ; ร่าเริงกันใหญ่จนลืมความตาย ; เป็นที่หลงใหลในภพนั้นๆ ตามที่มีอัสสาทะอยู่อย่างไร.

14.2 อัสสาทะไม่มีแก่พระอริยเจ้า ผู้เห็นโลกโดยความเป็นมายาเป็นของหลอกลวง เป็นที่หลงใหลสำหรับคนพาลเท่านั้น.

15. อาทีนวะ : โลกิยธรรมโดยอาทีนวะ :

15.1 ทำให้มีความทุกข์ : คือเวียนว่ายอยู่ในภพต่างๆ ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ.

15.2 เป็นที่ตั้งแห่งความขัดแย้งยื้อแย่งต่อสู้ฆ่าฟัน แม้กระทั่งระหว่างบิดากับบุตร.

15.3 เป็นที่ตั้งแห่งมิจฉาทิฏฐิ กิเลส หรือความเห็นแก่ตัวแทบทุกชนิด.

16. นิสสรณะ : โลกิยธรรมโดยนิสสรณะ :

16.1 รู้จักโลกิยธรรมโดยแจ้งชัด แล้วมีสติปัญญาถอนความยึดมั่นถือมั่นในโลกิยธรรมนั้น.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง