[Font : 15 ]
| |
ตอน 7 อานาปานสติ ขั้นที่ 3 การกำหนดลมหายใจทั้งปวง

ตอนเจ็ด

อานาปานสติ ขั้นที่สามANP10

(การกำหนดลมหายใจทั้งปวง)

อานาปานสติขั้นที่สามนี้ มีหัวข้อว่า “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ดังนี้”.ANP11

อานาปานสติข้อนี้ มีข้อที่จะต้องวินิจฉัยก็คือ คำว่า “ย่อมทำในบทศึกษา”, คำว่า “รู้พร้อมเฉพาะ” คำว่า “กายทั้งปวง”, และ การที่อานาปานสติได้ดำเนินถึงขั้นที่เรียกว่า ญาณ โดยสมบูรณ์ได้แล้วตั้งแต่ข้อนี้ไป :

คำว่า “ย่อมทำในบทศึกษา” หมายถึงการประพฤติปฏิบัติ ในบทที่ท่านวางไว้สำหรับการปฏิบัติที่เรียกว่าสิกขานั่นเอง และมีการจำแนกไว้เป็น 3 สิกขา คือ สีลสิกขา, สมาธิสิกขา หรือ จิตตสิกขา, และปัญญาสิกขา.

เกี่ยวกับการที่จะทำในบทสิกขาให้ครบทั้ง 3 อย่างได้อย่างไรนั้น ท่านแนะให้พิจารณาว่า เมื่อผู้นั้นมีการกำหนดลมหายใจเป็นต้นอยู่ ชื่อว่าย่อมมีการสำรวม. เมื่อมีการสำรวม ชื่อว่าย่อมมีศีล. นี้จัดเป็นสีลสิกขาของภิกษุนั้น


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ