[Font : 15 ]
| |
ทรงต่างจากมนุษย์ธรรมดา |  

ภิกษุ ท.! เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นทียินดี กำหนัดแล้วในรูป บันเทิงด้วยรูป. เทวดาแลมนุษย์ ท. ย่อมทนทุกข์อยู่ เพราะความแปรปรวนความกระจัดกระจาย ความแตกทำลาย ของรูป. ภิกษุ ท.! เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย มีเสียง 04.11 ฯลฯ, มีกลิ่น ฯลฯ, มีรส ฯลฯ, มีโผฏฐัพพะ ฯลฯ, มีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี กำหนัดแล้วในธรรมารมณ์ บันเทิงด้วยธรรมารมณ์.เทวดาแลมนุษย์ ท. ย่อมทนทุกข์อยู่ เพราะความแปรปรวน ความกระจัดกระจายความแตกทำลาย ของธรรมารมณ์.

ภิกษุ ท.! ส่วนตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ รู้แจ้งตามเป็นจริงซึ่งเหตุเป็นเครื่องเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษคือความต่ำทราม และอุบายเครื่องหลุดพ้นออกไปได้ แห่งรูปทั้งหลายแล้ว ; ไม่เป็นผู้มีรูปเป็นที่ยินดี ไม่กำหนัดในรูป ไม่บันเทิงด้วยรูป. ภิกษุ ท.! ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุขเพราะความแปรปรวน ความกระจัดกระจาย ความแตกทำลาย ของรูป,ภิกษุ ท.! ตถาคตรู้แจ้งตามเป็นจริง ซึ่งเหตุเป็นเครื่องเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษคือความต่ำทราม และอุบาเครื่องหลุดพ้นออกไปได้แห่งเสียง ท. แห่งกลิ่น ท. แห่งรส ท. แห่งโผฏฐัพพะ ท. และแห่งธรรมารมณ์ ท. แล้ว; ไม่เป็นผู้มีเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี ไม่กำหนัดไม่บันเทิงด้วยเสียงเป็นต้น ภิกษุ ท.! ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข เพราะความแปรปรวนความกระจัดกระจาย ความแตกทำลาย แห่งธรรม มีเสียงเป็นต้นนั้นๆ. (พระผู้มีพระภาคได้ทรงกล่าวคำนี้แล้ว, พระสุคตครั้นตรัสคำนี้แล้ว พระศาสดาได้ภาษิตคำอื่นอีกที่ผูกเป็นคาถาดังนี้ว่า :-)

รูป ท. เสียง ท. กลิ่น ท. รส ท. ผัสสะ ท. ธรรม ท. ทั้งสิ้น อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าชอบใจ ยังเป็นสิ่งกล่าวได้ว่ามีอยู่ เพียงใด มนุษยโลกพร้อมด้วยเทวโลก ก็ยังสมมติว่า "นั่นสุข" อยู่เพียงนั้น. ถ้าเมื่อสิ่งเหล่านั้นแตกดับลงในที่ใด, สัตว์เหล่านั้น ก็สมมติว่า "นั่นทุกข์" ในที่นั้น. สิ่งที่พระอริยเจ้า ท. เห็นว่าเป็นความสุข ก็คือความดับสนิทแห่งสักกายะทั้งหลาย,แต่สิ่งนี้กลับปรากฎเป็นข้าศึกตัวร้ายกาจ แก่สัตว์ ท. ผู้เห็นอยู่โดยความเป็นโลกทั้งปวง. สิ่งใด ที่สัตว์อื่นกล่าวแล้วโดยความเป็นสุข, พระอริยเจ้า ท. กล่าวสิ่งนั้น โดยความเป็นทุกข์. สิ่งใดที่สัตว์อื่นกล่าวอล้ว โดยความเป็นทุกข์, พระอริยะผู้รู้ กล่าวสิ่งนั้นโดยความเป็นสุข, ดังนี้.

- บาลี สฬา. สํ. 18/159/216.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง