[Font : 15 ]
| |
ทรงแสดงหลักแห่งกรรมต่างจากพวกอื่น |  

อานนท์! บรรดาสมณพราหมณ์ ท. เหล่านั้น (ก) สมณพราหมณ์ผู้ใด กล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! กรรมที่เป็นบาป (บาปกมฺม) มีอยู่, วิบากแห่งทุจริต ก็มีอยู่" ดังนี้; คำกล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เรายอมรับรู้ด้วย. (ข) แม้ข้อใดที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวต่อไปว่า "ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลผู้กระทำปาณาติบาต กระทำอทินนาทาน ประพฤติผิดในกาม พูดเด็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดคำเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฎฐิ, ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกายเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก" ดังนี้; คำกล่าวแม้ข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ยอมรับรู้ด้วย. (ค) แต่ข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! บุคคลใด เป็นผู้กระทำปาณาติบาต กระทำอทินนาทาน...ฯลฯ...มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฎฐิ บุคคลนั้นทุกคน, ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก" ดังนี้; คำกล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราไม่ยอมรับรู้ด้วย. (ฆ) แม้ข้อใดที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ, ชนเหล่าใดรู้อย่างอื่นความรู้ของชนเหล่านั้น ผิด" ดังนี้; คำกล่าวแม้ข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ยอมรับรู้ด้วย. (ง.) แม้ข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้น ปักใจตามกำลังแห่งความรู้ตามความลูบคลำแห่งทิฎฐิ แล้วกระทำซึ่งโวหารตามที่เขารู้เอง เห็นเอง แจ่มแจ้งเอง (สืบต่อไป) อย่างนี้ว่า "ข้อนี้เท่านั้นจริง, ข้ออื่นเป็นโมฆะ" ดังนี้; คำกล่าวแม้ข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ยอมรับรู้ด้วย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? อานนท์! ข้อนั้น เพราะเหตุว่า ญาณในการจำแนกซึ่งกรรมอันกว้างขวางของตถาคต ย่อมมีโดยประการอื่น.

อานนท์! บรรดาสมณพราหมณ์ ท. เหล่านั้น (ก) สมณพราหมณ์ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! กรรมที่เป็นบาปไม่มี, วิบากแห่งทุจริกก็ไม่มี" ดังนี้; คำกล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราไม่ยอมรับรู้ด้วย. (ข) แต่ข้อใดที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวต่อไปอีกอย่างนี้ว่า "ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลผู้กระทำปาณา-ติบาต กระทำอทินนาทาน...ฯลฯ...มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฎฐิ, ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์" ดังนี้; คำกล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เรายอมรับรู้ด้วย. (ค) ส่วนข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! บุคคลใด เป็น ผู้กระทำปาณาติบาต กระทำอทินนาทาน...ฯลฯ...มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฎฐิ บุคคลนั้นทุกคน, ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์" ดังนี้; คำกล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราไม่ยอมรับรู้ด้วย. (ฆ) แม้ข้อใดที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ชนเหล่าใด รู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ, ชนเหล่าใดรู้อย่างอื่นความรู้ของชนเหล่านั้น ผิด" ดังนี้; คำกล่าวแม้ข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ยอมรับรู้ด้วย. (ง) แม้ข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้น ปักใจตามกำลังแห่งความรู้ตามความลูบคลำแห่งทิฎฐิ แล้วกระทำซึ่งโวหารตามที่เขารู้เอง เห็นเอง แจ่มแจ้งเอง(สืบต่อไป) อย่างนี้ว่า "ข้อนี้เท่านั้นจริง, ข้ออื่นเป็นโมฆะ" ดังนี้; คำกล่าวแม้ข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ยอมรับรู้ด้วย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? อานนท์! ข้อนั้น เพราะเหตุว่า ญาณในการจำแนกซึ่งกรรมอันกว้างขวางของตถาคต ย่อมมีโดยประการอื่น.

อานนท์! บรรดาสมณพราหมณ์ ท. เหล่านั้น (ก) สมณพราหมณ์ผู้ใด กล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! กรรมที่เป็นกรรมงาม (กลฺยาณกมฺม) มีอยู่,วิบากแห่งสุจริต ก็มีอยู่" ดังนี้; คำกล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เรายอมรับรู้ด้วย. (ข) แม้ข้อใดที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวต่อไปว่า "ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดคำเพ้อเจ้อ ไม่เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา ไม่มีจิตพยาบาทเป็นสัมมาทิฏฐิ, ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์" ดังนี้; คำกล่าวแม้ข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ยอมรับรู้ด้วย. (ค) แต่ข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่าวนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! บุคคลใด เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน ...ฯลฯ...ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นทุกคน, ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์" ดังนี้;คำกล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราไม่ยอมรับรู้ด้วย. (ฆ) แม้ข้อใดที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ, ชนเหล่าใดรู้อย่างอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้น ผิด" ดังนี้; คำกล่าวแม้ข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ยอมรับรู้ด้วย. (ง) แม้ข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นปักใจตามกำลังแห่งความรู้ตามความลูบคลำแห่งทิฎฐิ แล้วกระทำซึ่งโวหารตามที่เขารู้เอง เห็นเอง แจ่มแจ้งเอง (สืบต่อไป) อย่างนี้ว่า "ข้อนี้เท่านั้นจริง, ข้ออื่นเป็นโมฆะ" ดังนี้; คำกล่าวแม้ข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ยอมรับรู้ด้วย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? อานนท์! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ญาณในการจำแนกซึ่งกรรมอันกว้างขวางของตถาคต ย่อมมีโดยประการอื่น.

อานนท์! บรรดาสมณพราหมณ์ ท. เหล่านั้น (ก) สมณพราหมณ์ผู้ใด กล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! กรรมที่เป็นกรรมงาม ไม่มี, วิบากแห่งสุจริตก็ไม่มี" ดังนี้; คำกล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราไม่ยอมรับรู้ด้วย. (ข) แต่ข้อใดที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวต่อไปว่า "ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน ...ฯลฯ...ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฎฐิ, ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย เข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก" ดังนี้; คำกล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เรายอมรับรู้ด้วย. (ค) ส่วนข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! บุคคลใดเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน ...ฯลฯ.. ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฎฐิ บุคคลนั้น ทุกคน, ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก" ดังนี้; คำกล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราไม่ยอมรับรู้ด้วย. (ฆ) แม้ข้อใดที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ, ชนเหล่าใดรู้อย่างอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้น ผิด" ดังนี้; คำกล่าวแม้ข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ยอมรับรู้ด้วย. (ง) แม้ข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นปักใจตามกำลังแห่งความรู้ตามความลูบคลำแห่งทิฎฐิ แล้วกระทำซึ่งโวหารตามที่เขารู้เอง เห็นเอง แจ่มแจ้งเอง(สืบต่อไป) อย่างนี้ว่า "ข้อนี้เท่านั้นจริง, ข้ออื่นเป็นโมฆะ" ดังนี้; คำกล่าวแม้ข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ยอมรับรู้ด้วย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?อานนท์! ข้อนั้น เพราะเหตุว่า ญาณในการจำแนกซึ่งกรรมอันกว้างขวางของตถาคต ย่อมมีโดยประการอื่น.

(ตรัสอธิบายเกี่ยวกับพวกที่ทำบาปแล้วตายไม่สู่นรก)

อานนท์! บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดในโลกแห่งกาลปัจจุบันนี้เป็นผู้กระทำปาณาติบาต กระทำอทินนาทาน ...ฯลฯ...เป็นมิจ)าทิฎฐิ, ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก ข้อนี้เป็นเพราะในกาลก่อนเขาได้กระทำบาปกรรมอันมีทุกข์เป็นผลไว้; หรือว่าในกาลภายหลังเขาได้กระทำบาปกรรมอันมีทุกข์เป็นผลไว้; หรือว่าในเวลาจะตายเขาเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฎฐิ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก. ส่วนข้อที่เขาเป็นผู้กระทำปาฎาติบาต กระทำอทินนาทาน ...ฯลฯ...เป็นมิจฉาทิฎฐิ ในโลกแห่งกาลปัจจุบันนี้ นั้น เขาย่อมเสวยซึ่งวิบากแห่งกรรมนั้น ในกาลอันเป็นทิฎฐธรรม (ทันควัน) บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอุปปัชชะ (เวลาถัดมา) บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอปรปริยายะ (เวลาถัดมาอีก) บ้าง.

(ตรัสอธิบายเกี่ยวกับพวกที่ทำบาปแล้วตายไปสู่สวรรค์)

อานนท์! บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดในโลกแห่งกาลปัจจุบันนี้เป็นผู้กระทำปาณาติบาต กระทำอทินนาทาน ...ฯลฯ...เป็นมิจฉาทิฎฐิ, ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้อนี้เป็นเพราะในกาลก่อนเขาได้กระทำกัลยาณกรรมอันมีสุขเป็นผลไว้; หรือว่า ในกาลภายหลังเขาได้กระทำกัลยาณกรรมอันมีสุขเป็นผลไว้; หรือว่าในเวลาจะตายเขาเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสัมมาทิฎฐิ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ส่วนข้อที่เขาเป็นผู้กระทำปาณาติบาต กระทำอทินนาทาน ...ฯลฯ...เป็นมิจฉาทิฎฐิ ในโลกแห่งกาลปัจจุบันนี้นั้นเขาย่อมเสวยซึ่งวิบากแห่งกรรมนั้น ในกาลอันเป็นทิฎฐธรรม (ทันควัน) บ้าง,หรือในกาลอันเป็นอุปะปัชชะ (เวลาถัดมา) บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอปรปริยายะ(เวลาถัดมาอีก) บ้าง.

(ตรัสอธิบายเกี่ยวกับพวกที่เว้นจากบาปแล้วตายไปสู่สวรรค์)

อานนท์! บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดในโลกแห่งกาลปัจจุบันนี้เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน ...ฯลฯ...เป็นสัมมาทิฎฐิ,ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้อนี้เป็นเพราะในกาลก่อนเขาได้กระทำกัลยาณกรรมอันมีสุขเป็นผลไว้; หรือว่าในกาลภายหลังเขาได้กระทำกัลยาณกรรมอันมีสุขเป็นผลไว้; หรือว่าในเวลาจะตายเขาเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสัมมาทิฎฐิ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ส่วนข้อที่เขาเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน ...ฯลฯ เป็นสัมมาทิฎฐิ ในโลกแห่งกาลปัจจุบันนี้ นั้น เขาย่อมเสวยซึ่งวิบากแห่งกรรมนั้น ในกาลอันเป็นทิฎฐธรรม (ทันควัน) บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอุปะปัชชะ (เวลาถัดมา) บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอปรปริยายะ (เวลาถัดมาอีก) บ้าง.

(ตรัสอธิบายเกี่ยวกับพวกที่เว้นจากบาปแล้วตายไปสู่นรก)

อานนท์! บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดในโลกแห่งกาลปัจจุบันนี้เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน ...ฯลฯ...เป็นสัมมาทิฎฐิ,ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรกข้อนี้เป็นเพราะในกาลก่อนเขาได้กระทำบาปกรรมอันมีทุกข์เป็นผลไว้; หรือว่าในกาลภายหลังเขาได้กระทำบาปกรรมอันมีทุกข์เป็นผลไว้; หรือว่าในเวลาจะตาย เขาเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฎฐิ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก. ส่วนข้อที่เขาเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน ...ฯลฯ...เป็นสัมมาทิฎฐิในโลกแห่งกาลปัจจุบันนี้ นั้น เขาย่อมเสวยซึ่งวิบากแห่งกรรมนั้น ในกาลอันเป็นทิฎฐธรรม (ทันควัน) บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอุปะปัชชะ (เวลาถัดมา) บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอปรปริยายะ (เวลาถัดมาอีก) บ้าง.

อานนท์! ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล กรรมที่ไม่ควรทำ แสดงตัวออกมาเป็นกรรมที่ไม่ควรทำก็มี; กรรมไม่ควรทำ แสดงตัวออกมาเป็นกรรมที่ควรทำก็มี;และกรรมที่ควรทำแท้ ๆ แสดงตัวออกมาเป็นกรรมที่ควรทำก็มี; กรรมที่ควรทำแสดงตัวออกมาเป็นกรรมที่ไม่ควรทำก็มี; ดังนี้แล.

- บาลี มหากัมมวิภังคสูตร อุปริ. ม. 14/394/608. ตรัสแก่พระอานนท์


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง