[Font : 15 ]
| |
กระแสการปรุงแต่งแห่งการเกิดวิมุตติญาณทัสสนะ |  

ภิกษุ ท.! เมื่อ สติสัมปชัญญะ มีอยู่, หิริและโอตัปปะของผู้มีสติสัมปชัญญะอันถึงพร้อมแล้ว ก็เป็นหิริโอตตัปปะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย12.2;

เมื่อ หิริและโอตตัปปะ มีอยู่, อินทรียสังวรของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยหิริและโอตตัปปะ ก็เป็นอินทรีย์สังวรถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ อินทรียสังวร มีอยู่, สีลของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอินทรียสังวร ก็เป็นสีลถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ อินทรียสังวร มีอยู่, สีลของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอินทรียสังวร ก็เป็นสีลถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ สีล มีอยู่, สัมมาสมาธิของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสีล ก็เป็นสัมมาสมาธิถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ สัมมาสมาธิ มีอยู่, ยถาภูตญาณทัสสนะของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ ก็เป็นยถาภูตญาณทัสสนะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ ยถาภูติญาณทัสสนะ มีอยู่, นิพพิทา วิราคะ ของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ก็เป็นนิพพิทาวิราคะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ นิพพิทาวิราคะ มีอยู่, วิมุตติญาณทัสสนะ ของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยนิพพิทาวิราคะ ก็เป็นวิมุตติญาณทัสสนะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย.

- อฎฺฐก. อํ 23/348/187.

(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท.! เมื่อ มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว, อวิปปฏิสาร12.3 ก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ อวิปปฏิสาร มีอยู่, ความปราโมทย์ของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอวิปปฏิสาร ก็เป็นปราโมทย์ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ ความปราโมทย์ มีอยู่, ปีติของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยความปราโมทย์ ก็เป็นปีติถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ ปีติ มีอยู่, ปัสสัทธิของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยปีติ ก็เป็นปัสสัทธิถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ ปัสสัทธิ มีอยู่, สุขของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยปัสสัทธิ ก็เป็นสุขถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ สุข มีอยู่, สัมมาสมาธิของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสุข ก็เป็นสัมม-สมาธิถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ สัมมาสมาธิ มีอยู่, ยถาภูตญาณทัสสนะของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ ก็เป็นยถาภูตญาณทัสสนะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีอยู่, นิพพิทาของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ก็เป็นนิพพิทาถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย;

เมื่อ นิพพิทา มีอยู่, วิราคะของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยนิพพิทา ก็เป็นวิราคะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;

เมื่อ วิราคะ มีอยู่, วิมุตติญาณทัสสนะ ของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิราคะ ก็เป็นวิมุตติญาณทัสสนะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย.

- เอกาทสก. อํ. 24/338/210.

(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท.! เมื่อภิกษุมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล, สัมมาสมาธิ ของเธอย่อมเป็นธรรม ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย;

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่, ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมเป็นธรรม ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาสมาธินั้น ;

เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่, นิพพิทาวิราคะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ;

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่, วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยนิพพิทาวิราคะ.

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนต้นไม้ สมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบแล้ว แม้สะเก็ดเปลือกของต้นไม้นั้น ก็ถึงความบริบูรณ์ ; แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์ ; แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ ; แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ; ฉันใดก็ฉันนั้น

(ข้อความฝ่าย ปฏิปักขนัยต่อข้อความนี้ ก็ได้ตรัสไว้ในลักษณะที่ผู้ศึกษาพึงกำหนดได้เอง จึงไม่นำมาใส่ไว้).

- ปญฺจก. อํ. 22/21/24.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง