[Font : 15 ]
| |
ผู้ไม่ต้องทะเลาะวิวาทกัน |  

ภิกษุ ท.! พวกเธอ อย่ากล่าวถ้อยคำที่เป็นเหตุให้ยึดถือแตกต่างกันกว่า

"ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้, ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้, ท่านรู้ทั่วถึงธรามวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก, คำควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง, คำควรกล่าวทีหลัง ท่านมากล่าวก่อน, คำพูดของท่านจึงไม่เป็นประโยชน์ คำพูดของเจ้า เป็นประโยชน์, ข้อที่ท่านเคยถนัดมาแปรปรวนไปเสียแล้ว ข้าพเจ้าแย้งคำพูดของท่านแหลกหมดแล้ว ท่านถูกข้าพเจ้าข่มแล้ว เพื่อให้ถอนคำพูดผิดๆ นั้นเสีย หรือท่านสามารถก็จงค้านมาเถิด" ดังนี้. พวกเธอไม่พึงกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น เพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่าการกล่าวนั้นๆ ไม่ประกอบด้วยประดยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.

ภิกษุ ท.! เมื่อพวกเธอจะกล่าว จงกล่าวแต่เรื่องที่ว่า "ความทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ, เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ, ความดับสนิทแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ, และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ" ดังนี้. เพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่า การกล่าวนั้นเป็นการกล่าวที่ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน แล.

- บาลี พระพุทธภาษิต มหาวาร. สํ. 19/525/1662, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง