[Font : 15 ]
| |
ทรงเป็นยาม เฝ้าตลิ่งให้ปวงสัตว์ |  

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนมีบุรุษผู้หนึ่ง ว่ายล่องกระแสน้ำลงไปเพราะเหตุจะได้สิ่งน่ารักน่าเพลินใจ.

มีบุรุษบัณฑิตผู้หนึ่ง ยืนอยู่บนฝั่ง เห็นบุรุษผู้ว่ายน้ำนั้นแล้ว ร้องบอกไปว่า "ท่านผู้เจริญ! ท่านย่อมว่ายล่องตามกระแสน้ำ เพราะเหตุจะได้สิ่งน่ารักน่าเพลินใจโดยแท้. แต่ว่า ทางเบื้องล่างนั้นมีห้วงน้ำลึก มีคลื่น มีน้ำวน มียักษ์มีรากษส ซึ่งเมื่อท่านไปถึงที่นั่นแล้ว จักต้องตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย".

ภิกษุ ท.! บุรุษผู้ว่ายล่องตามกระแสน้ำ นั้น ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้วก็พยายามว่ายทวนกระแสน้ำกลับมา ด้วยกำลังมือและเท้าทั้งหมดของเขา.

ภิกษุ ท.! คำอุปมานี้ ตถาคตผู้ขึ้น เพื่อให้รู้เนื้อความ. เนื้อความในเรื่องนั้น ดังนี้ : คำว่า `กระแสน้ำ' เป็นชื่อแห่งตัณหา. คำว่า `สิ่งน่ารักน่าเพลินใจ' เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน 6. คำว่า `ห้วงน้ำลึก' เป็นชื่อแห่งสัญโญชน์เบื้องต่ 5 อย่าง. คำว่า `คลื่น' เป็นชื่อแห่งความโกรธ และความคับแค้น. คำว่า `น้ำวน' เป็นชื่อแห่งกามคุณห้า. คำว่า `ยักษ์' และ `รากษส' เป็นชื่อแห่งเพศตรงข้าม. คำว่า `ว่ายทวนกระแสกลับมา' เป็นชื่อแห่งเนกขัมมะ.คำว่า `พยายามด้วยกำลังมืทอและเท้าทั้งหมด' เป็นชื่อแห่งการปรารภความเพียร. คำว่า `บุรุษบัณฑิต ผู้ยืนอยู่บนฝั่ง' เป็นชื่อแห่งตถาคต ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้แล.

- บาลี อิติวุ. ขุ. 25/316/289. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง