[Font : 15 ]
| |
เนื้อนาบุญ เกิดจากการเป็นอยู่ชอบ |  

ภิกษุ ท.! ภิกษุบริษัทนี้ ไม่เหลวไหลเลย.

ภิกษุ ท.! ภิกษุบริษัทนี้ ไม่เหลวแหลกเลย.

ภิกษุ ท.! ภิกษุบริษัทนี้ ตั้งอยู่แล้วในธรรมที่เป็นสาระล้วน.

ภิกษุ ท.! ภิกษุสงฆ์ประเภทเดียวนี้เท่านั้น, ภิกษุบริษัทประเภทเดียวนี้เท่านั้น, เป็นบริษัทที่หาดูได้ยากในโลก.

ภิกษุ ท.! ภิกษุสงฆ์ประเภทเดียวนี้เท่านั้น, ภิกษุบริษัทประเภทเดียวนี้เท่านั้น, เป็นบริษัทที่ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุ ท.! ภิกษุสงฆ์ประเภทเดียวนี้เท่านั้น, ภิกษุบริษัทประเภทเดียวนี้เท่านั้น, เป็นบริษัทที่ทายกถวายทานด้วยสิ่งของเล็กน้อย แต่กลับมีผลมาก; ทายกถวายทานเป็นอันมาก ผลก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามส่วน.

ภิกษุ ท.! ภิกษุสงฆ์ประเภทเดียวนี้เท่านั้น, ภิกษุบริษัทประเภทเดียวนี้เท่านั้น, เป็นบริษัทที่ควรจะไปดูไปเห็น แม้จะต้องเดินสิ้นหนทางนับด้วยโยชน์ๆ หรือถึงกับต้องพาเอาห่อสะเบียงไปด้วยก็ควร.

ภิกษุ ท.! ภิกษุสงฆ์ประเภทเดียวนี้เท่านั้น ซึ่งพวกภิกษุผู้ถึงความเป็นเทพ ก็มีอยู่ในภิกษุสงฆ์นี้, พวกภิกษุผู้ถึงความเป็นพรหม ก็มีอยู่ในภิกษุสงฆ์นี้, พวกภิกษุผู้ถึงอาเนญชา ก็มีอยู่ในภิกษุสงฆ์นี้, พวกภิกษุผู้ถึงความเป็นอริยะ ก็มอียู่ในภิกษุสงฆ์นี้.

ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้ถึงความเป็นเทพ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากสิ่งอันเป็นอกุศลทั้งหลาย จึงบรรบลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่; เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌานที่ 2 อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ทำให้เกิดสมาธิมีอารมณือันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้แลอยู่; เพราะความจางไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย จึงบรรลุฌานที่ 3 อันเป็นฌานที่พระอริยะเจ้ากล่าวว่ "ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข" ดังนี้ แล้วแลอยู่; เพราะละสุขและลุทุกเสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุฌานที่สี่ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้ถึงความเป็นเทพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.

ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้ถึงความเป็นพรหม เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แผ่จิตอันประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา สู่ทิศที่ 1 ทิศที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 โดยลักษณะอย่างเดียวกันตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และด้านขวาง, ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา, อันไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เป็นจิตกว้างขวางประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวงหาประมาณมิได้ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้ถึงความเป็นพรหม ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้ถึงอาเนญชา เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้, เพราะผ่านพ้นการกำหนดหมายในรูปเสียได้, เพราะความดับแห่งการกำหนดหมายในอารมณ์ที่ขัดใจ, และเพราะการไม่ทำในใจ ซึ่งการกำหนดมายในภาวะต่างๆ เสียได้ โดยประการทั้งปวง จงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" ดังนี้. แล้แลอยู่; เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะเสียได้ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญารัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "วิญยาณไม่มีที่สิ้นสุด" ดังนี้, แล้วแลอยู่; เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะเสียได้ โดยประการทั้งปวง จึงเข่าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อะไร ๆ ไม่มี" ดังนี้, แล้วแลอยู่; เพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะเสียได้ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญยานาสัญญายตนะ, แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท.! ภิกษุ ผู้ถึงอาเนญชา ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้ถึงความเป็นอริยะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า "ทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ, ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงวา "เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ, ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า "ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ, ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า "ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้ถึงความเป็นอริยะ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

- บาลี พระพุทธภาษิต จตุกฺก.อํ. 21/248/190, ตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ผู้นั่งแวดล้อมพระพุทธงค์อยู่โดยรอบ ล้วนแต่เป็นผู้นิ่งสงบอยู่ด้วยกันทั้งหมด ในวันอุโบสถวันหนึ่ง ซึ่งมีข้อความดังเรื่องนี้.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง