[Font : 15 ]
| |
สุญญตา

1. พยัญชนะ : สุญญตาโดยพยัญชนะ : คือ ความว่าง.

2. อรรถะ : สุญญตาโดยอรรถะ :

2.1 โดยธรรมชาติ : ว่างจากตัวตน ; ความหมายแห่งตัวตนและของตน.

2.2 โดยเหตุ : ว่างจากกิเลส หรืออุปาทานว่าตัวตน.

2.3 โดยผล : ว่างจากความทุกข์.

แต่มิได้หมายความว่าไม่มีอะไรเสียเลย ; คงมีสิ่งนั้นๆ ตามธรรมชาติ หากแต่ว่างจากความหมาย หรือคุณค่าแห่งตัวตน.

3. ไวพจน์ : สุญญตาโดยไวพจน์ : คือ อนัตตตา.

4. องค์ประกอบ : สุญญตาโดยองค์ประกอบ : ไม่มี.

5. ลักษณะ : สุญญตาโดยลักษณะ : ไม่เปลี่ยนแปลง คงที่ เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ.

6. อาการ : สุญญตาโดยอาการ : ไม่มี ; มีแต่ความคงที่.

7. ประเภท : สุญญตาโดยประเภท : จะว่าไม่มีก็ได้ แต่เมื่อเป็นคำพูดมันมี ; คือ :

7.1 สุญญตาอันธพาลของผู้ไม่รู้จริง ; เป็นนัตถิกทิฏฐิA90 หรือเป็นข้อแก้ตัวของคนที่ทำชั่ว.

7.2 สุญญตาแท้จริงของสัตบุรุษ ที่ถูกต้องตามความหมายของพระพุทธองค์.

7.3 สุญญตาที่แปลว่าสูญจากอัตตา : มีประโยชน์อย่างยิ่ง.

7.4 สุญญตาที่แปลว่าสูญเปล่า ซึ่งเป็นความหมายที่ไม่ถูกต้อง.

8. กฎเกณฑ์ : สุญญตาโดยกฎเกณฑ์ :

8.1 สุญญตาเป็นสิ่งที่ปรากฏเฉพาะแก่จิต ที่ไม่มีอุปทาน.

8.2 สุญญตาเป็นสิ่งที่ปรากฏเฉพาะแก่จิต เมื่อเห็นไตรลักษณ์ถึงที่สุด.

8.3 สุญญตาเป็นธรรมชาติที่เป็นอสังขตะ.

9. สัจจะ : สุญญตาโดยสัจจะ :

9.1 สุญญตามีความคงที่ตามแบบของอสังขตธรรม.

9.2 สุญญตามีความว่างในสามความหมาย คือ ว่างจากกิเลส, ว่างจากความทุกข์, ว่างจากสังขาร (ปรุงแต่งของสิ่งที่เป็นเหตุและผล).

10. หน้าที่ : สุญญตาโดยหน้าที่ :

10.1 หน้าที่ (โดยสมมติ) ของความสุญญตา : คือ ป้องกันการยึดมั่นว่าตัวตน.

10.2 หน้าที่ของมนุษย์ต่อสิ่งที่เรียกว่าสุญญตา : คือ สัจจานุโพธาA91, สัจจานุปัตติA92, สัจจานุรักขณาA93 ต่อกฎของสุญญตา.

11. อุปมา : สุญญตาโดยอุปมา : เปรียบเสมือน :

11.1 โล่ป้องกันลูกศรดอกที่ 2A94 แห่งมฤตยู.

11.2 ผ้าซับน้ำตาของผู้รู้จักใช้ เมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้น.

12. สมุทัย : สุญญตาโดยสมุทัย : คือ การดับแห่งอุปาทาน เป็นปัจจัยแห่งการปรากฏของสุญญตา.

13. อัตถังคมะ : สุญญตาโดยอัตถังคมะ : ไม่มี.

14. อัสสาทะ : สุญญตาโดยอัสสาทะ : มีเฉพาะผู้ยังมีอุปาทานในคุณค่าของสุญญตา (หรือนิพพาน).

15. อาทีนวะ : สุญญตาโดยอาทีนวะ : มีเฉพาะในกรณีที่ถือเอาความหมายของคำนี้ผิด (เช่นเข้าใจว่าสูญเปล่า).

16. นิสสรณะ : สุญญตาโดยนิสสรณะ : นิสสรณะจากสุญญตาไม่มี ; เพราะไม่ต้องออกจากสุญญตา. มีแต่จะใช้สุญญตา เป็นนิสสรณะเครื่องออกจากอุปาทาน ที่เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์.

17. ทางปฏิบัติ : สุญญตาโดยทางปฏิบัติ :

17.1 การมองเห็นสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง.

17.2 วิปัสสนาระบบที่มีผลครบทั้ง 9 “ตา”A95 (อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา ธัมมัฏฐตตาA96 ธัมมนิยามตาA97 อิทัปปัจจยตา สุญญตา ตถาตา อตัมมยตา).

17.3 อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือโพธิปักขิยธรรมทั้งระบบ.

18. อานิสงส์ : สุญญตาโดยอานิสงส์ : คือ ทำผู้เห็นให้เข้าถึงสิ่งสูงสุด.

19. หนทางถลำ : สุญญตาโดยหนทางถลำ : เข้าไปสู่สิ่งที่เรียกว่าสุญญตา : คือ การขับต้อนของความวุ่นวายแห่งตัวตน.

20. สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : สุญญตาโดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : เพื่อเข้าถึงสุญญตา : คือ การเห็นโทษของอุปาทาน ; การเห็นคุณของอนุปาทาน (ความไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตน).

21. ภาษาคน - ภาษาธรรม : สุญญตาโดยภาษาคน - ภาษาธรรม :

21.1 ภาษาคน : ความสูญเปล่าหรือไม่มีอะไรเลย.

ภาษาธรรม : ความไม่มีสิ่งหรือความหมายที่ควรยึดถือว่าตัวตน.

21.2 ภาษาคน : สิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัว.

ภาษาธรรม : สิ่งที่เป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริง.

ธรรมโฆษณ์ที่แนะนำให้อ่าน

1. มาฆบูชาเทศนา เล่ม 1

2. สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม 1, 2


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง