[Font : 15 ]
| |
ผู้ได้บรรลุฌานที่ 3 |  

ภิกษุ ท.! อีกประการหนึ่ง, เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ภิกษุเป็นผู้อยูอุเบกขา มีสติสัปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย จึงบรรลุฌานที่ 3 อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า "ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข" ดังนี้ แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยลำพังหาสุขปีติมิได้ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่สุข หาปติมิได ไมถูกตองแลว มิไดมี.

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนหนองบัวอุบล หนองบัวปทุม หนองบัวบุญฑริก มีดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางเหล่าที่เกิดอยู่ในน้ำ เจริญอยู่ในน้ำ ยังขึ้นไม่พ้นน้ำ จมอยู่ภายใต้อันน้ำเลี้ยงไว้, ดอกบัวเหล่านั้นถูกน้ำเย็นแช่ชุ่ม ถูกต้องตั้งแต่ยอดตลอดราก, ส่วนไหนๆ ของดอกบัวเหล่านั้นทั่วทั้งดอก ที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด; ภิกษุ ท.! ภิกษะ เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยลำพังหาสุขปีติมิได้ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

- บาลี พระพุทธภาษิต มหาอัสสปุรสูตร มู.ม. 12/506/473.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง