[Font : 15 ]
| |
ผู้สะอาด เป็นผู้ที่เหมือนกับถูกนำตัวไปเก็บไว้ในสวรรค์

ภิกษุ ท.! บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ย่อมเป็นเหมือนบุคคลผู้ถูกนำตัวไปเก็บไว้ในสวรรค์. ธรรม 10 ประการอย่างไรเล่า? 10 ประการ คือ บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละการทำสัตว์มีปาณะให้ตกล่วง เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่ 1; (ต่อไปนี้ตรัสถึงบุคคลผู้ เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจกพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ไม่มากด้วยอภิชณา ไม่มีพยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ; ซึ่งแต่ละอย่างๆ มีรายละเอียดหาดูได้จากหัวข้อที่ว่า “ลักษณะความสะอาด-ไม่สะอาด ในอริยวินัย” เฉพาะฝ่ายดี ที่หน้า 1568-9 แห่งหนังสือเล่มนี้; แล้วตรัสจบลงด้วยคำว่า :-)

ภิกษุ ท.! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นเหมือนบุคคลผู้ถูกนำตัวไปเก็บไว้ในสวรรค์.

- ทสก. อํ. 24/306/189.

(ในสูตรอื่น แทนที่จะเรียกผู้เป็นเจ้าของกรณีว่า บุคคล แต่ไปทรงเรียกเสียว่า มาตุคามก็มี อุบาสิกาก็มี. – 24/308/190-191.

สูตรอื่นๆ แทนที่จะนับจำนวนกรรมบถว่ามี 10 ได้ทรงขยายออกไปเป็น 20 คือ ทำเอง 10 ชักชวนผู้อื่นให้ทำอีก 10, และทรงขยายออกไปเป็น 30 คือทำเอง 10 ชักชวนผู้อื่นให้ทำ 10 ยินดีเมื่อเขาทำ 10, และทรงขยายออกไปเป็น 40 คือ ทำเอง 10 ชักชวนผู้อื่นให้ทำ 10 ยินดีเมื่อเขาทำ 10 สรรเสริญผู้กระทำ 10; จึงมีกรรมบถ 10 20 30 40.

- 24/352-332/198-201.

ในสูตรอื่น แสดงผลแห่งการกระทำแปลกออกไป จากคำว่า เหมือนถูกนำไปเก็บไว้ในนรก เป็นว่า “เป็นผู้ขุดรากตนเอง” ก็มี “ตายแล้วไปทุคคติ” ก็มี “เป็นพาล” ก็มี; ส่วนผู้ที่เหมือนถูกนำไปเก็บไว้ในสวรรค์นั้น ทรงแสดงด้วยคำว่า “ผู้ไม่ขุดรากตนเอง” ก็มี “ตายแล้วไปสุคติ” ก็มี “เป็นบัณฑิต” ก็มี. – 24/332-333/202-203.)


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง